ภูมิปัญญาการปลูกและแปรรูปแห้วนา กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อเนก สุขดี คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประเทศไทย
  • รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประเทศไทย
  • ยุวดี พ่วงรอด คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประเทศไทย
  • กฤษณะชัย คลอดเพ็ง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญา, แห้วนา, เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการปลูกและแปรรูปแห้วนา และ (2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแป้งแห้วนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ชุมชนหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลเอกสารและจากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองกุลารวมทั้งสิ้น 15 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การปลูกแห้วนาในชุมชนหนองกุลาใช้วิธีการปลูกแบบง่ายๆตามภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การเตรียมดิน การปักดำต้นกล้า การบำรุงรักษาและการขุดแห้วนา สำหรับการทำแป้งแห้วนาของชุมชนหนองกุลาเป็นการผลิตในระดับครัวเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การล้าง การสกัดแป้ง และการตากแดด ส่วนแป้งแห้วนาสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนหนองกุลาได้หลายประการ คือ การจำหน่ายแป้งแห้วนา การแปรรูปแป้งแห้วนาเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว การทำขนมวุ้นแห้วนาจำหน่าย คณะผู้วิจัยและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองกุลาได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทดลองแปรรูปแป้งแห้วนาเป็นข้าวเกรียบแห้วนาฟักทองที่กรอบ หอม อร่อยพร้อมได้ออกแบบเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ฉัตรธิดา หยูคง และ ศักรินทร์ ชนประชา. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนฐานองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรม วัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(3), 201-214.

ชุติมา เลิศลักษมี และ อรพิน เสละคร. (2556). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำแป้งแห้วนา ชุมชนหนองกุลา จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ณวิญ เสริฐผล. (2563). ภูมิปัญญาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(3), 145-160.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). การค้า-อุตสาหกรรม-คมนาคม. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2566. จาก https://mgronline.com/business/detail/9660000058997.

ศุภมร ชมพูมิ่ง และ ภานุวัฒน์ ภักดีวงศ์. (2565). กลยุทธ์การแปรความรู้จากภูมิปัญญาสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยลื้อ. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 10(7), 2893-2906.

Sridharmma, K. (2011). Wisdom of Local Isan. Textbook and research project in honor of His Majesty the King's 84th Birthday Anniversary Northeastern Rajabhat University, 2011. Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28