แนวทางสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • กชภัทร์ สงวนเครือ นักวิชาการอิสระ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สมรรถนะครู, ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้, โรงเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 210 คน และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับการสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ Content analysis และการตรวจสอบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับดังนี้ สมรรถนะหลัก อยู่ในระดับมาก สมรรถนะส่วนบุคคล อยู่ในระดับมาก และ สมรรถนะประจำสายงาน อยู่ในระดับมาก การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ พบว่า 1) สมรรถนะระดับองค์การ ได้แก่ สมรรถนะด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะการพัฒนาทักษะและคุณลักษณะของผู้เรียน สมรรถนะด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน สมรรถนะด้านภาวะผู้นำครู สมรรถนะด้านสื่อและเทคโนโลยี สมรรถนะระดับกลุ่ม ได้แก่ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะด้านการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม สมรรถนะกระบวนการพัฒนาระดับบุคคล ได้แก่ สมรรถนะการพัฒนาตนเอง สมรรถนะด้านความฉลาดทางอารมณ์ สมรรถนะด้านความฉลาดทางสังคม สมรรถนะด้านการคิดแบบมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหา สมรรถนะด้านความคิดสร้างสรรค์ สมรรถนะด้านความรู้ 2) แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ ประเมินความต้องการจำเป็น วัตถุประสงค์การพัฒนา แนวทางการดำเนินการพัฒนา และประเมินผลการพัฒนา โดยแต่ละกระบวนการแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระดับ คือ ระดับองค์การ ระดับกลุ่ม และระดับบุคคล

References

นงลักษณ์ พิมพ์ศรี. (2559). การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูด้านภาวะผู้นำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(2), 91-104.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2560). กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: PLC. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตพัฒนา

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 3-14.

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2559). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อำไพ นงค์เยาว์, ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ และ และอนุชา กอนพ่วง. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 132-143.

Anne, M.B. (2008). The school-as-learning-community within new public management: The role of organizational structure. In Paper presented at ‘The school-a learning organization?’ conference. Norway: Lillehammer.

Barbara, P. & Kerry, J.K. (1995). The national competency framework for beginning teaching: A radical approach to initial teacher education?. Australian Educational Researcher, 22(2), 27-62.

Bernie, T. & Charles, F. (2009). 21st century skills in learning for life in our times. New Jersey: John Wiley & Sons.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Linda, D.H. (2006). Constructing 21st century teacher education. Journal of Teacher Education, 57(10), 1-15.

Peter, M.S. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday

Saavedra, A.R. & Darleen, V.O. (2012). Learning 21st century skills requires 21st century teaching. Phi Delta Kappan, Sage Journals, 94(2), 8-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01