ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • ณภัทร สุวรรณพฤกษ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธีรพล กาญจนากาศ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารงานบุคลากร, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกองยุทธศาสตร์และแผนงาน (2) ศึกษาการบริหารงานบุคลากรของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคลากรในกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก จำนวน 56 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการเป็นต้นแบบนำทาง การบริหารงานบุคลากร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสรรหาบุคลากร ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคลากร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำมาก โดยตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ ด้านการสร้างขวัญกำลังใจ สามารถพยากรณ์ได้ว่า เป็นตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานที่มีค่าสัมประสิทธิ์สมการถดถอยหรืออำนาจพยากรณ์ (R2) เท่ากับ .904 มีผลต่อการบริหารงานบุคลากรของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ร้อยละ 90.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2566). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจำปี 2565 กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน. สืบค้น 15 กันยายน 2566. จาก http://dcy.go.th/.

นภัสภรณ์ มูลสิน. (2562). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 243-250.

นิตยา ขันธุแสง. (2562). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารมงกุฎทักษิณ, 15(1), 22-68.

ปริณดา วโรภาสรุ่งเรือง, ธีระพงษ์ ภูริปาณิก และ อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2564). การศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 14(2), 76-98.

พรทิพา สีหาคุณ. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

พิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 415-432.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28