หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรอันส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา เดชะดี นักศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธีรพล กาญจนากาศ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, บุคลากร, คุณค่าสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาคุณค่าสาธารณะของเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก จำนวน 106 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรในเทศบาลเมืองบางกะดี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม คุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการส่งมอบบริการสาธารณะ ความสัมพันธ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรพยากรณ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี โดยตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี พบว่า ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักนิติธรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี (R2) ได้ร้อยละ 74.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

ติยานนท์ แสงบุตร. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน เขตจังหวัดกาฬสินธ์. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

เทศบาลเมืองบางกะดี. (2566). รายงานประจำปี เทศบาลบางกะดี พ.ศ 2566. สืบค้น 9 สิงหาคม 2566. จาก https://bangkadi.go.th/frontpage.

ธีรพล กาญจนากาศ, ณฐนนท ทวีสิน, สุนิตดา เทศนิยม และ เชาว์ สวัสดิ์พุทรา. (2566). การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), 48

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปาริชาติ ละดาไส, กนกกาญจน์ คำบุญชู, ศรสวรรค์ ราบบำเพิง, ศิรประภา รอดแก้ว และ โชติ บดีรัฐ. (2565). การส่งเสริมและพัฒนาบริการสาธารณะของท้องถิ่นที่มีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน. Journal of Modern Learning Development, 8(4), 348-361.

พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม, พระครูใบฎีกาศักดิ์ดนัย สนฺตจิตฺโต และ สัญญา สดประเสริฐ. (2564). การนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับการบริหารงานภาครัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 35-47.

ราเชน ซามัน. (2562). การประยุกต์หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของข้าราชการด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์. Lawarath Social E-Journal, 1(2), 13-29.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2551). สาระสำคัญในการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานข้าราชการพลเรือน.

อิสระ วงษ์ชนะ. (2553). ปัญหาการบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

Ahmed, M. A., & Koech, P. (2019). Influence of public governance on service delivery in Benadir municipality, Somalia. International Journals of Academics & Research, 1(2), 196-206.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28