การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะเทศบาลเมืองบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อารยา สมสวย รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธีรพล กาญจนากาศ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ประชาชน, การจัดบริการสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ (2) ศึกษาปัจจัยการให้บริการประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการให้บริการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใช้ตารางเลขสุ่ม จำนวน 379 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการให้บริการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างพอเพียง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ความสัมพันธ์ปัจจัยการให้บริการมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยการให้บริการมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะ โดยตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างพอเพียง ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยหรืออำนาจพยากรณ์เท่ากับ .978 มีผลต่อมีการส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ ได้ร้อยละ 97.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เทศบาลเมืองบางคูวัด. (2566). รายงานเทศบาลเมืองบางคูวัด พ.ศ 2566. สืบค้น 9 สิงหาคม 2566. จาก https://bangkadi.go.th/frontpage.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

เบญจมาศ สุทธิรักษ์. (2566). ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะของระบบประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเขาตอกอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

พนิน นนทโคตร และ วีรศักดิ์ สมยานะ. (2565). ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะกับระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเหนือ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 9(1), 66-80.

พลวุฒิ สะกิจ. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

เยาวธิดา สุริจักหงส์ และ รัชดา ภักดียิ่ง. (2565). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของเทศบาลตำบลแก่นฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(11), 1-16.

สุพัตรา นามวงศา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสะโน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม).

อัครกฤษ นุ่นจันทร์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารงานของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดลพบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 23(ฉบับพิเศษ), 13-22.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28