แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำการเรียนรู้, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 97 คน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำการเรียนรู้แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า ควรจัดอบรมพัฒนาความรู้ใหม่ๆ สร้างความตระหนักหรือความเข้าใจที่จะพัฒนาตนเอง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งเสริมความสามารถของแต่ละบุคคลในการทำกิจกรรมร่วมกับครูในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งพัฒนาตนเองในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ ตลอดจนเคารพกฎระเบียบ กติกา และมารยาทในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 51–66.
จิตกมล โคตรทองหลาง. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(7), 159-169.
จิวัฒน์ วงษ์คง. (2560). ตัวบ่งชีภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์, 11(2), 48-58.
ธีระ รุญเจริญ. (2562). ทิศทางการจัดการศึกษาเรียนรู่สู่การศึกษา 4.0 ในยุคดิจิทัล. ใน จิณณวัตร ปะโคทัง (บรรณาธิการ), รวมบทความการบริหารการศึกษากับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาในยุคดิจิทัล ชุดที่ 1. (น. 8-9). อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิทยาการพิมพ์ 1973.
ภัทรสุดา ธีรชาญวิทย์. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1521-1534.
รัตน์ดา เลิศวิชัย และ ธีระ รุญเจริญ. (2560). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17(ฉบับพิเศษ), 669-683.
สมชาย เทพแสง. (2559). ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการจัดการคุณภาพโดยรวมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(25), 116-125.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2), 116-125.
อนุชิต พันธ์กง, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ เอกลักษณ์ เพียสา. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(82), 113-124.
อภิชัย พันธเสน, วราพร ศรีสุพรรณ, ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน, พิสิฐ นาครําไพ, ศุภธิดา ศิริวงศ์, สรประเวศ กระจ่างคันถมาตร์, ยุพิน ประเสริฐพรศรี, ปริญญา หวันเหล็ม และ อรอนงค์ อินทรหะ. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา (2535-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อภิศญารัศมิ์ ประราศี. (2561). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
Jolouch, A., Martinez, M., & Badia, J. (2013). Leadership for 21st Century Learning. New York: OECD Publishing.
Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. (2016). Learning leadership: The five fundamentals of becoming an exemplary leader. New Jersey: John Wiley & Sons.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Salavert, R. (2013). Approaches to learning leadership development in different School system. Paris: OECD.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.