ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา
คำสำคัญ:
ความจงรักภักดีต่อองค์กร, เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน, สำนักอำนวยการประจำศาลฎีกาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมในหน่วยงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา และ (2) ความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา จำนวน 215 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-Test One-way ANOVA ค่า LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความจงรักภักดีต่อองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ เงินเดือน ระยะเวลาที่ทำงาน และค่าตอบแทนพิเศษ ที่แตกต่างกัน มีความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา ต่างกัน นอกจากนี้ปัจจัยสภาพแวดล้อมในหน่วยงานด้านความสัมพันธ์ในองค์กรและเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลในระดับปานกลาง
References
ธัญธิภา แก้วแสง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์). (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
นันทพร ชวนชอบ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรมีความจงรักภักดีกับองค์การอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
บรรเทิง พาพิจิตร. (2549). ประเพณี วัฒนธรรม และคติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พัชราวลัย ศุภภะ. (2562). นโยบายสาธารณะและการวางแผนเพื่อการจัดการองค์กรภาครัฐ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย.
พิทยา บวรวัฒนา. (2541). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2559, 4 กุมภาพันธ์). การแบ่งส่วนราชการภายในและกําหนดอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานศาลยุติธรรม. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 11 ก. หน้า 24
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2556). ผูกใจพนักงานอย่างไรให้ได้ทั้งใจทั้งงาน Employee Engagement in Practice. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม.
Gabor, A., & Mahoney, J. T. (2013). Chester Barnard and the systems approach to nurturing organizations. Retrieved 9 November 2023. from https://www.researchgate.net/profile/Andrea-Gabor/publication/228425904_Chester_Barnard_and_the_Systems_Approach_to_Nurturing_Organizations/links/5c1aa47b458515a4c7eb0293/Chester-Barnard-and-the-Systems-Approach-to-Nurturing-Organizations.pdf.
Robbins, S. P. (2001). Organizational Behavior. New Jersey: Prentice Hall.
Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.