23.5 องศาที่โลกเอียง: ความเป็นหญิงความเป็นชาย และความสัมพันธ์ทางเพศในวรรณกรรมหญิงรักหญิง

ผู้แต่ง

  • อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ประเทศไทย
  • พชรกฤต ศรีบุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ประเทศไทย
  • ปัณณธรณัฐ อาปะโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความเป็นหญิง, ความเป็นชาย, ความสัมพันธ์ทางเพศ, วรรณกรรมหญิงรักหญิง, 23.5 องศาโลกเอียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นหญิงความเป็นชายของละครในวรรณกรรมหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางเพศของละครในวรรณกรรมหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง เป็นการวิจัยเอกสารเชิงคุณภาพ โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ความเป็นหญิงและความเป็นชายของ Doyle (1991 อ้างถึงใน มีโชค ราษฎรานุวัต, 2544) และเพศวิถี (sexuality) ของ Jackson and Scott (1996 อ้างถึงใน อรทัย เพียยุระ, 2561) ผลการวิจัย พบว่า ความเป็นหญิงความเป็นชายของละครในวรรณกรรมหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง พบว่ามี 2 ลักษณะได้แก่ มีความรู้สึกอ่อนไหว และดูแลเอาใจใส่ต่อคนรัก ส่วนความเป็นชาย พบว่ามี 3 ลักษณะได้แก่ 1) ไม่แข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ 2) เป็นที่สนใจทางเพศ และ3) แสดงความรักอย่างเปิดเผย ความสัมพันธ์ทางเพศของตัวละครในวรรณกรรมแนววายหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง พบว่า มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) รสนิยมทางเพศ 2) ปฏิบัติการทางเพศ 3) วาทกรรมที่สร้างโอกาสให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ และ 4) ทัศนคติทางเพศ แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ ได้แก่ ทัศนคติทางเพศแบบขนบเดิม และทัศนคติทางเพศแบบขนบใหม่

References

ณัชชารีย์ เลิศวิชญโรจน์. (2560). หัวใจ/วาย. (ศิษฏา ดาราวลี, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บันบุ๊คส์.

น้ำเงิน นามมุติ. (2561). 23.5 องศาที่โลกเอียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอเวอร์วาย.

พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที. (2564). เกย์มาสูตรา. พุทธอาเซียนศึกษาวารสาร, 6(1), 92-97.

ภัทราพร ไพศาลสุวรรณ. (2553). แนวคิดเรื่องเพศวิถีในฮินดูตันตระ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มีโชค ราษฏรานุวัต. (2544). การต่อรองทางเพศสภาพในนิตยสารผู้หญิงผู้หญิงและผู้ชาย. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). วรรณกรรมเยาวชน. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564. จาก https://www.th.wikipedia.org.

อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ. (2566). บทบาทและความสัมพันธ์ทางเพศในวรรณกรรมแนววาย. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อรทัย เพียยุระ. (2561). วรรณกรรมกับเพศภาวะ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28