การบริหารกิจกรรมสภานักเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

ผู้แต่ง

  • ชลัมพล วิเชียรนรา สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • สามิตร อ่อนคง สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • บุญเลิศ วีระพรกานต์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารกิจกรรม, สภานักเรียน, คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมสภานักเรียน โรงเรียนบ้านชะอวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 (2) ศึกษากระบวนการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านชะอวด (3) นำเสนอและประเมินกระบวนการบริหารกิจกรรม สภานักเรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านชะอวด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด มีองค์ประกอบและมีผลการดำเนินการดังนี้ (1) การวางแผนงานกิจกรรมสภานักเรียนขาดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (2) การจัดโครงสร้างตำแหน่งงานกิจกรรมสภานักเรียนไม่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนเหมาะสมกับความสามารถ (3) การสั่งการงานกิจกรรม สภานักเรียน (4) การประสานงานกิจกรรมสภานักเรียน (5) การควบคุมบริหารจัดการงานกิจกรรมสภานักเรียนเป็นหน้าที่หลักของครูที่ปรึกษาสภานักเรียน กระบวนการบริหารกิจกรรมสภานักเรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด ดำเนินงานทั้งหมด 5 ขั้นตอน โดยทุกขั้นตอนดำเนินการร่วมกันโดยใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการประกอบด้วย 1) การวางแผนงานควรส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2) การจัดโครงสร้างตำแหน่งงานควรกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจน เหมาะสมกับความสามารถ 3) การสั่งการควรประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงาน 4) การประสานงานควรสร้างเครือข่ายการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 5) การควบคุมบริหารจัดการงานควรมีแผนในการบริหารจัดการที่ครอบคลุมและมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบการบริหารกิจกรรมสภานักเรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวดนั้น ในการร่วมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นตรงกันว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นงคราญ อนุกูล. (2558). รูปแบบการส่งเสริมประชาธิปไตยโดยใช้วัฒนธรรมองค์กรของสภานักเรียนระดับมัธยมศึกษาภาคอีสาน. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นิคม เขียวฉ่ำ. (2558). แนวปฏิบัติการสร้างความเข้มแข็งสภานักเรียนโดยยึดหลักการจัดการศึกษาเชิงพิพัฒนาการนิยมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 2. (ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุวลี เซ็นเสถียร. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทจริงและบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานคร. (ครุศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21