รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของนักเรียนในเครือข่ายพระบรมธาตุสวี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

ผู้แต่ง

  • พรหมลิขิต ศรีสุทโธ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูประโชติกิจจาภรณ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

จิตอาสา, กระบวนการพัฒนา, สังคหวัตถุ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการพัฒนาจิตอาสาของนักเรียนในเครือข่ายพระบรมธาตุสวี (2) พัฒนารูปแบบจิตอาสาของนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของนักเรียนในเครือข่ายพระบรมธาตุสวี 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาจิตอาสาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของนักเรียนในเครือข่ายพระบรมธาตุสวี การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาสภาพ 15 คน พัฒนารูปแบบจำนวน 5 คน สนทนากลุ่ม 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (1) สภาพการพัฒนาจิตอาสาของนักเรียนผลการศึกษาพบว่า สถานศึกษาบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี กิจกรรมสาธารณประโยชน์ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในสถานศึกษาไม่ชัดเจนและขาดการประเมินอย่างเป็นระบบ (2) ผลการพัฒนารูปแบบจิตอาสาของนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งกระบวนการพัฒนาจิตอาสาประกอบด้วย 5 ประการคือ 1) การรับรู้ค่านิยม 2) การตอบสนองต่อค่านิยม 3) การเห็นคุณค่าของค่านิยม 4) การจัดระบบของค่านิยม 5) การสร้างลักษณะนิสัย โดยการพัฒนาใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา ซึ่งทุกกระบวนการพัฒนาจิตอาสาใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินงาน (3) ผลการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาจิตอาสาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนมีมติเป็นเอกฉันท์ว่ามีความเหมาะสม เป็นไปได้ เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คําพันธ์ จํานงกิจ. (2556). รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด).

วิเชียร อินทรสมพันธ์, กฤษดา ผ่องพิทยา และ วิกรม ศุขธณี. (2560). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 109-120.

ศุภวรรณ์ เล็กวิไล และ เรียม ศรีทอง. (2562). รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาครู. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(2), 1-16.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2561). แรงบันดาลใจในการทำจิตอาสา. กรุงเทพฯ: สหมิตร พริ้นติ้แอนด์พับลิสชิ่ง.

สมปอง ช่วยพรม. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักการเรียนรู้ แบบรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สันติพงศ์ ยมรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ศรีสุทโธ พ., พระครูประโชติกิจจาภรณ์, & สมเขาใหญ่ ธ. (2024). รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของนักเรียนในเครือข่ายพระบรมธาตุสวี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 401–412. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272560