การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
คำสำคัญ:
คู่มือ, การบริหารงานบุคคล, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (2) พัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (3) ประเมินคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 15 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ประเด็นการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า การดำเนินการแต่ละงานทั้ง 9 งาน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดแต่ผู้ปฏิบัติยังขาดความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป็นเพราะว่ามีแนวปฏิบัติที่หลากหลายและมีจำนวนมากประกอบกับบางภาระกิจงานมีกฎระเบียบที่มีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้ไม่สามารถปฏิบัติได้สอดคล้อง 2) ผลการศึกษาพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า ในการนำเสนอแนวปฏิบัติทั้ง 9 งาน มีแนวปฏิบัติให้เกิดความสอดคล้องกันกับแนวปฏิบัติซึ่งปรากฏอยู่ในประกาศ คำสั่งและระเบียบที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 3) ผลการประเมินคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า ในการสนทนากลุ่มซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่าคู่มือมีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้
References
จักรกฤษณ์ ทิพย์ปัญญา. (2564). การพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลสู่องค์การคล่องตัว กรณีศึกษาโปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Chatbot) กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ธพลศจกรณ์ พิมพิชัยธกุล. (2561). การพัฒนาคู่มือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ปทุมพร กาญจนอัตถ์. (2561). แนวทางการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2565. จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3). สืบค้น 4 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/045/1.PDF.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ศิรินภาวรรณ ทุมคำ. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
สุเทพ เท่งประกิจ. (2557). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).
อรรคพล แดนดี. (2556). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาดอลตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.