แนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่

ผู้แต่ง

  • สิริกร เหมทานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • บุญเลิศ วีระพรกานต์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • ปรีชา สามัคคี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหาร, งานวิชาการ, สู่ความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา (2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงาน และ (3) เพื่อนำเสนอและประเมินแนวทางการวิจัยในครั้งนี้มีการศึกษาสภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 15 คน การร่างแนวทางสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวม มีขอบข่ายการบริหารงานวิชาการตามโครงสร้างนิติบุคคล 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ไม่เป็นเชิงรุกทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ ไม่ครอบคลุมตามเนื้อหาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 4) การนิเทศการศึกษา ไม่เป็นไปตามปฏิทินที่วิชาการกำหนด 5) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแต่ยังขาดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (2) แนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ 4) การนิเทศการศึกษา 5) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารทางด้านวิชาการ 2) กลยุทธ์งานวิชาการ 3) การบริหารจัดการ 4) การจัดสภาพบรรยากาศ แวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ 5) ด้านคุณภาพผู้เรียน แต่ละขั้นตอนจะต้องมีการประชุม วางแผน การดำเนินงาน การติดตาม ประเมินผล การปรับปรุง พัฒนา (3) ผลการนำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา พบว่า ในการสนทนากลุ่มทุกคนเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้

References

กุลธร ดอนแก้ว. (2562). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนบนพื้นที่สูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

ปริศนา สีเงิน. (2559). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ราชกิจจาฯ ประกาศกระทรวงฯ. (2564). การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). เป้าหมายการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัด. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

อาคม ยุพานิชย์ และ สุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 137-150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28