การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานการศึกษา อำเภอตะกั่วป่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, งานวิชาการ, หลักสังคหวัตถุ 4บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานการศึกษาอำเภอตะกั่วป่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา (2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานการศึกษาอำเภอตะกั่วป่า (3) เพื่อนำเสนอและประเมินการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานการศึกษาอำเภอตะกั่วป่า ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์เนื้อหา สรุปเป็นข้อความเชิงอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานการศึกษาอำเภอตะกั่วป่า สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารงานหลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการวัดและประเมินผล 4) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา สภาพโดยภาพรวมพบว่าเป็นไปตามกระบวนการบริหารแต่ละด้านแต่ยังขาดความเข้าใจและการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ (2) การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานการศึกษาอำเภอตะกั่วป่า คือ การนำขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย ด้านการบริหารงานหลักสูตรด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ดังนี้ 1) ทาน 2) ปิยวาจา 3) อัตถจริยา 4) สมานัตตตา (3) การนำเสนอและประเมินการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในศูนย์ประสานงานการศึกษาอำเภอตะกั่วป่า พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งทุกคนเห็นว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ซึ่งประกอบด้วยทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา
References
นิภาพร เหล่าพรมมา. (2558). การบริหารบุคลากรทางการศึกษาตามหลักหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 7 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พระครูประทีปธรรมาภิรักษ์ (ประพันธ์ พนฺธุธมฺโม). (2559). การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัดถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระครูไพโรจน์กิจจาทร (สกุล สุภทฺโท). (2559). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เขตประเวศ สังกัดกรุงเทพมหานคร. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระจตุพร เทวธมฺโม (ใจยิ้ม). (2559). การบริหารงานวิชาการตามหลักหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 74 ก, (19 สิงหาคม 2542).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. (2566). บริบทสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. สืบค้น 5 สิงหาคม 2566. จาก https://www.phangngaedarea.go.th/site/structure/.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). อบรมผู้บริหารสถานศึกษา หมวด 4 เอกสาร ประกอบการอบรมหลักสูตร. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.