การบริหารสถานศึกษาตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชกาลที่ 10 ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 7 ฝั่งอันดามัน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, พระบรมราโชบายด้านการศึกษา, รัชกาลที่ 10บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 7 ฝั่งอันดามัน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชกาลที่ 10 (3) เพื่อนำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชกาลที่ 10 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหาสรุปเป็นข้อมูลอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชกาลที่ 10 ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 7 ฝั่งอันดามัน สังกัดสำนักบริหารงานรการศึกษาพิเศษ ซึ่งมีขอบข่ายการบริหารสถานศึกษา ดังนี้ 1) งานบริหารงานวิชาการ 2) งานบริหารงานบุคคล 3) งานบริหารงานงบประมาณ 4) งานบริหารงานทั่วไป พบว่า การบริหารงาน 4 ฝ่ายมีนโยบายที่แตกต่างกัน ทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนไม่บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ตามหลักสูตรหรือนโยบายจัดการศึกษา แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชกาลที่ 10 ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 7 ฝั่งอันดามัน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ซึ่งประกอบไปด้วย งานบริหารวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารงานงบประมาณ งานบริหารงานทั่วไป โดยมีกระบวนการบริหารพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชกาลที่ 10 ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของรัชกาลที่ 10 ดังนี้ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพ 4) เป็นพลเมืองดี การนำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชกาลที่ 10 ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 7 ฝั่งอันดามัน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนเห็นว่ามีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562. สืบค้น 7 ตุลาคม 2566. จาก https://www.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/01/MOE-Authority.pdf.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ).
จารุวรรณ บุญโต. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตาพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 (รายงานการวิจัย). ปราจีนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก.
ปาริชาต ปุณยอัครฉัตร และ ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2566). ผลการดำเนินงานตามพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรม, 6(2), 156-181.
วนิษฐา คำยศ. (2564). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง (อินมีอุปถัมภ์). วาสารครุทรรศน์, 1(2), 1-20.
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2565). เอกสารประกอบการอบรมวิทยากรแกนนํา “หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวม” ปงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.