การบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนทุ่งสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ภักดี อ่อนเกตุพล สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูพิจิตรศุภการ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • มะลิวัลย์ โยธารักษ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, กลุ่มบริหารทั่วไป, วงจรคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปของโรงเรียนทุ่งสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช (2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนทุ่งสง และ (3) นำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนทุ่งสง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นตอนการศึกษาสภาพการบริหารงานโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) ขั้นตอนการศึกษาแนวทางใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) ขั้นตอนการนำเสนอแนวทางใช้การประชุมสนทนากลุ่มโดยใช้แบบประเมินการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปของโรงเรียนทุ่งสง ประกอบด้วยกลุ่มงาน 4 กลุ่มงาน ดังนี้ 1) กลุ่มงานสำนักงาน 2) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และวารสาร 3) กลุ่มงานบริหารอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ และ 4) กลุ่มงานบริการ ซึ่งมีสภาพภาระงานไม่สัมพันธ์กับจำนวนผู้รับผิดชอบและมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณและการบริการ แนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนทุ่งสง ประกอบด้วย 4 กลุ่มงาน ดังนี้ 1) กลุ่มงานสำนักงาน 2) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และวารสาร 3) กลุ่มงานบริหารอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ และ 4) กลุ่มงานบริการ ใช้แนวทางการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ได้แก่ 1) การวางแผน (P = Plan) 2) การปฏิบัติตามแผน (D = Do) 3) การตรวจสอบ (C = Check) และ 4) การปรับปรุงแก้ไข (A = Act) การนำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนทุ่งสง ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มทุกคนมีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ เหมาะสม และเป็นประโยชน์

References

คเณศ เทพสุวรรณ. (2562). การพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ฉัตรชัย ตันตรานนท์. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนางานบริหารทั่วไป โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

ชนมณี ศิลานุกิจ, อำนวย ทองโปร่ง, รังสรรค์ มณีเล็ก และ สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 43-58.

ธัญญาลักษณ์ ฉิมเพชร. (2563). การบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชร สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต10. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนครราชสีมา).

บัณฑิต เหมือดอดทน. (2559). การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การบริหารคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle: PDCA) ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ในจังหวัดเลย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

โรงเรียนทุ่งสง. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 3 ปี (2565 - 2568). นครศรีธรรมราช: โรงเรียนทุ่งสง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นครศรีธรรมราช: งานนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). ประกาศ สพฐ. เรื่องการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21