การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

ผู้แต่ง

  • สมชาย ทิพย์มนตรี สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูสุเมธปริยัติคุณ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • กษมา ศรีสุวรรณ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบสารสนเทศ, การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานสารสนเทศ (2) นำเสนอและประเมินแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานสารสนเทศ มีการใช้ระบบสารสนเทศ 5 ขั้นตอน (1) การเก็บรวบรวมข้อมูล (2) การตรวจสอบข้อมูล (3) การประมวลผลข้อมูล 4) การจัดเก็บข้อมูล (5) การนำข้อมูลไปใช้ มีการดำเนินงานสารสนเทศทั้ง 5 ขั้นตอน แต่ยังไม่รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การนำเสนอและประเมินแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ มี 5 ขั้นตอน (1) การเก็บรวบรวมข้อมูล มีการกำหนดรายการข้อมูลที่ต้องการ กำหนดวิธีการเก็บ มีผู้รับผิดชอบ สร้างรูปแบบการเก็บ และมีการรายงานความคืบหน้า (2) การตรวจสอบข้อมูล กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดูแลระบบ รวบรวมข้อมูล กำหนดวิธีการ มีการปรับปรุง/แก้ไขข้อมูล (3) การประมวลผลข้อมูล มีการวางแผนใช้เครื่องมือและรายงานผล (4) การจัดเก็บข้อมูล สร้างระบบและจัดประเภทของข้อมูล เลือกวิธีจัดเก็บ และจัดทำคู่มือการใช้ (5) การนำข้อมูลไปใช้ สร้างระบบงานวิชาการ กำหนดสิทธิ์ในการใช้/เข้าระบบ และมีการเผยแพร่ข้อมูล นำมาใช้กับขอบข่ายการบริหารงานบริหารวิชาการ 5 ด้านคือ (1) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (4) ด้านการนิเทศการศึกษา (5) ด้านพัฒนาและแหล่งเรียนรู้ ที่ทำให้รวดเร็ว ถูกต้อง และทันสมัย ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ามีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จุลศักดิ์ สุขสบาย. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฝ่ายวิชาการ ของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 45-56.

ณนัฐรักษ์ อรุณทัต. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน: กรณีศึกษา โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

บัลลังก์ จารย์คุณ. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

มณฑิรา คงยิ่ง. (2651). การจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี).

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานนายกรัฐมนตรี.

อัยลัดดา ตองอ่อน และ ดรุณี ปัญจรัตนากร. (2566). การพัฒนาระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 603-618.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21