รูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการศึกษา, มาตรฐานระดับสากล, สถานศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล เป็นการศึกษา ในโรงเรียนที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการศึกษามาตรฐานระดับสากลจำนวน 6 แห่ง โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล โดยการประเมินความเหมาะสม ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร/รองผู้อำนวยการ/หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนนานาชาติ จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู หลักสูตร และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการ ขั้นตอนที่ 3 การติดตามตรวจสอบ และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนนานาชาติ องค์ประกอบที่ 4 ปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) นโยบายและกฎหมายในการส่งเสริมการจัดการศึกษาและการสนับสนุนจากภาครัฐ 2) การสื่อสารความสำเร็จในการจัดการศึกษาแก่สาธารณชน 3) การสร้างภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในทุกมิติ 4) วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ส่วนผลการตรวจสอบรูปแบบผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมแบบฉันทามติ และผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากลมีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552 – 2559) ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ขัตติยา ด้วงสําราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธสําหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ณัฐพิมล ธรรมสรางกูร. (2559). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด วิเคราะห์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ปรเมษฐ์ โมลี. (2552). การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2560). รายงานการศึกษาเรื่องการพัฒนาแนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
รังสรรค์ นกสกุล, บุญเรือง ศรีเหรัญ และจุไร โชคประสิทธิ์. (2555). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 6(1), 61-62.
เรขา ศรีวิชัย. (2554). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดนนทบุรี. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). “ความรู้” สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สมบัติ นพรัก. (2553). การผลิตและการพัฒนาครู:บนเส้นทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). ระบบ IB (International Baccalaureate) ระบบการศึกษาของประเทศเยอรมนีที่ถูกออกแบบเพื่อการเรียนรู้ข้ามประเทศ. สืบค้น 30 มิถุนายน 2565. จาก https://www.nia.or.th/IB.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ไอเดีย แอนด์พริ้นติ้ง.
Chalker, D. M. & Haynes, R.M. (1994). World Class Schools: new standards for education. Lancaster: Technomic Publishing Company.
Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2001). Education and administration theory, research, and practice. (6th ed.). New York: McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.