การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพ, การบริหารจัดการภาครัฐ, องค์การสมรรถนะสูงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ กับระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการเปรียบเทียบระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า อายุ ประเภทตำแหน่ง และอายุงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงแตกต่างกัน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง นอกจากนี้พบว่า ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับความเป็นองค์การสมรรถนะสูงมากที่สุด
References
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2566). รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การ รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก https://psdg.anamai.moph.go.th/th/pmqa-report/download?id=108349&mid=32167&mkey=m_document&lang=th&did=32544.
ณัฐฐศรัณฐ์ มังคละนาเคศวร. (2562). ปัจจัยและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูง กรณีศึกษา: การยางแห่งประเทศไทย. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
ธนกิจ ยงยุทธ, พนมพัทธ์ สมิตานนท์ และ นพพล อัคฮาด. (2564). การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของเรือนจำอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารบริหารปกครอง, 10(1), 475-497.
บรรพต กิติสุนทร และ กมลฉัตร หอมทั่ว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (น. 2247-2256). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
มยุลี ปันทะโชติ และ ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 195-209.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2562). แนวทางการจัดทำรายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). เล่มที่ 135 ตอนที่ 13ก, หน้า 11-17.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). เล่มที่ 135 ตอนที่ 82ก, หน้า 1.
วารุณี ภูมิศรีแก้ว และ ธนวิทย์ บุตรอุดม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงของเทศบาลนครอุดรธานี. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(1), 25-36.
ศศิมา สุขสว่าง. (2560). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก https://citly.me/ELRxH.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2562. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก www.parliament.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2565). คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566). สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก www.parliament.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2565). ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เรื่อง ผลการพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2565. สืบค้น 30 สิงหาคม 2565. จาก https://www.opdc.go.th/content/MzM.
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก www.ocsc.go.th.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.
Yamane, T. (1973). Statistics, an introductory analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.