ผลการสำรวจปัญหาในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย
  • ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สำรวจปัญหา, นักศึกษาฝึกสอน, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ประชากร คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 365 คน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูฯ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้สูตรการคำนวณของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนไม่น้อยกว่า 191 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้ผู้ตอบแบบสอบถามที่ครบถ้วนจำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาและปัญหาการฝึกประการณ์วิชาชีพครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักศึกษาฝึกสอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า 1. มีทุนทรัพย์เพียงพอระหว่างฝึกสอน 2. มีคนในครอบครัวคอยให้คำแนะนำและแก้ปัญหา 3. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งระหว่างฝึกสอน 4. มีปัญหาหรืออุปสรรคอยู่บ้างในระหว่างฝึกสอน 5. มีเพื่อนหรือคนรู้จักคอยให้คำปรึกษาและสนับสนุน 6. สามารถจัดทำแผนการสอนได้สำเร็จ 7. สามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายทันตามกำหนดเวลา 8. มีครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในระหว่างการฝึกสอน 9. ระยะเวลาของการฝึกสอนเพียงพอให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของครู 10. สามารถควบคุมชั้นเรียนและจัดการกับปัญหานักเรียนได้ 11. ช่วงของการฝึกสอนเป็นไปตามแผนการศึกษาในหลักสูตร 12. ความรู้ในระหว่างเรียนเป็นประโยชน์ต่อการฝึกสอน 13. มหาวิทยาลัยมีบุคลากรคอยให้การสนับสนุนในการฝึกสอน 14. กิจกรรมหรือโครงการของมหาวิทยาลัยไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสอน เมื่อเรียงลำดับปัญหา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างฝึกสอน อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ปัญหาด้านทุนทรัพย์ ระดับปานกลาง และด้านครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่จะคอยให้คำแนะนำและปรึกษา ระดับปานกลาง ส่วนปัญหาด้านอื่นๆ มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย

References

กิตติมา เก่งเขตรกิจ, เกียรติศักดิ์ ล้วนมงคล และ อรอุมา สอนง่าย. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 23(1), 1-10.

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18 – 20.

คณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2562). คู่มืออาจารย์นิเทศก์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2566). “ข้อมูลประวัตินักศึกษา” จาก แบบแสดงความจำนงขอออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผกามาศ รัตนบุษย์. (2566). การศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 13(3), 1-14.

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

พระมหาอำนวย มหาวีโร และ ริศร พงศ์สุวรรณ. (2562). สภาพปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตเอเชีย, 9(2), 99-105.

มณีภรณ์ ทฤษณาวดี. (2555). ทัศนคติของนิสิตที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16, 1-18.

มนัสวี ศรีนนท์. (2562). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4(1), 15-22.

เมธาวี ศรีสิงห์ และ ศราวุธ อินทรเทศ. (2562). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 1-14.

วนิดา ฉัตรวิราคม, วีระพงษ์ แสงชูโต, ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และ วิชาญ เลิศลพ. (2565). ปัญหาการสอนออนไลน์ของนักศึกษาวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 94-108.

สโรชา คล้ายพันธุ์. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 63-76.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28