แนวกันชนห้วยขาแข้ง: พลวัตของคนกับป่า

ผู้แต่ง

  • ปริญญา นิกรกุล นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย
  • เสมอชัย พลูสุวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แนวกันชน, ห้วยขาแข้ง, พลวัต, คนกับป่า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตการอยู่ร่วมกันของรัฐ ชุมชน และป่า บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ห้วยขาแข้ง ตั้งแต่ปี 2515 - 2563 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วน และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 48 รูป/คน ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนาโดยเน้นวิพากษ์โครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ผลการวิจัยพบว่า 1. หมู่บ้านที่อยู่ติดกับแนวกันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งศูนย์กิโลเมตร (คลองเสลา) 2. หมู่บ้านที่อยู่ในแผนการอพยพหรือผลักดันออกแต่ชุมชนสามารถต่อรองที่จะอยู่ในพื้นที่เดิมได้ (เขาเขียว) 3. ชุมชนดั่งเดิมที่ถูกผลักดันและรัฐจัดสรรที่ดินทำกินให้ใหม่ (อีพุ่งใหญ่) ดังนั้นชุมชนที่จะอยู่กับป่าได้ต้องพึ่งพิงอำนาจรัฐให้หน่วยงานของรัฐคานอำนาจกันเอง ชาวบ้านไม่สามารถอยู่ได้ด้วยความจำเป็น เงื่อนไขความเหมาะสมของตนเอง และแสดงให้เห็นกลยุทธ์ทั้งหมด 3 แบบดังนี้ 1) สมยอมกับกรมป่าไม้ ให้กรมได้รักษาพื้นที่ของตนเอง ขณะเดียวกับชุมชนได้พื้นที่ป่าชุมชนมา 2) ชาวบ้านรักษาป่าชุมชนได้เพราะทหาร จึงทำข้อตกลงให้เขตครอบครองของทหารเป็นป่าชุมชน 3) ป่าชุมชนเกิดขึ้นภายใต้นโยบายบ้านเล็กในป่าใหญ่ซึ่งต้องอิงทหารเช่นเดียวกัน ชาวบ้านมีสภาพเป็นจำเลยเพราะการอยู่ได้คือต้องสมยอมกับอำนาจที่ใหญ่กว่า

References

กฤษกร วงค์กรวุฒิ. (2562). 50 ปี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง: ประวัติศาสตร์สู่อนาคต. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์.

คณะกรรมการป่าชุมชนท่านหนึ่ง. (2561). คณะกรรมการป่าชุมชน. สัมภาษณ์. 4 มีนาคม.

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (14 มิถุนายน 2557) ที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้.

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (17 มิถุนายน 2557) ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน.

พระยาพนานุจร. (2513). พระยาพนานุจรในวงการป่าไม้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

ภูมินทร์ พาลุสุข และ อลงกรณ์ อรรคแสง. (2562). การศึกษาผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าที่มีต่อชาวบ้านในภาคอีสาน: กรณีศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหารปกครอง, 8(2), 185-202.

วีรวัธน์ ธีรประสาธน์. (2538). เขตกันชน คนกับป่า (2). สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, 41(34), 38-39.

วีรวัธน์ ธีรประสาธน์. (2538). เขตกันชนคนกับป่า (5). สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, 41(37), 33.

ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชยแปซิฟิก. (2536). การจัดการเขตกันชนในประเทศไทย รายงานการประชุมโดย ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2545). เขตกันชนกับภาคีอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ. ชีวปริทรรศน์, 4(5), 71–74.

สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป.) ข้อมูลพื้นฐานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. ตู้ ปณ.7 อำลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 61160

สืบ นาคะเสถียร, Belinda Stewart-Cox. (2533). การเสนอชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้งเพื่อเข้าร่วมเป็นมรดกโลกกับ U.N.E.S.C.O. กรุงเทพฯ: สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้.

หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). จังหวัดอุทัยธานี. หน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม. สืบค้น 3 มีนาคม 2566. จาก https://web.facebook.com.

อารมณ์ เคนหล้า. (2544) เขตกันชน ทางออกใกล้ตัวเรื่อง “คน” กับ “ป่า”. นิตยสารโลกสีเขียว, 10(2), 61–69.

Ahmad, C. B., Abdullah, J., Jaafar, J., & Anuar, A. N. A. (2017). Spatial Adaptation of Protected Area Buffer Zones in Urban Setting: Impact on human and conservation agenda. Environment-Behaviour Proceedings Journal, 2(5), 65-69.

Ebregt, A., & Greve, P. D. (2000). Buffer zones and their management. Policy and best practices for terrestrial ecosystems in developing countries. Theme Studies Series, 5. Amsterdam: EC-LNV & IAC The Netherlands.

Lan, Y. J., & Hsu, T. W. (2021). Planning and management of coastal buffer zones in Taiwan. Water, 13(20), 2925.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28