ผลการนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์

ผู้แต่ง

  • วนภัทร์ แสงแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์, การเสริมสร้างทักษะ, การจัดการตนเองของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง “ผลการนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือการเก็บข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้เสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์ และเพื่อวิเคราะห์ทักษะการจัดการตนเองด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อศึกษาผลการสะท้อนคิดด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์ โดยประเด็นหลักในการศึกษา 3 ประเด็น คือ 1) ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ที่มีความจำเป็นของผู้เรียนด้านสังคมสงเคราะห์ 2) การนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้เสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียน 3) ผลการสะท้อนคิดด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียน ผลการศึกษาวิจัยที่ปรากฏในการศึกษานี้มี 3 ประเด็นสำคัญคือ (1) ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ที่มีความจำเป็นของผู้เรียนด้านสังคมสงเคราะห์ (2) การนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้เสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียน และประเด็นสุดท้าย (3) ผลการสะท้อนคิดด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียน ในการศึกษาวิจัยนี้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้ ประการแรกผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์สังคมสงเคราะห์กับรัฐศาสตร์ได้อย่างกลมกลืนโดยผู้เรียนนำความรู้ทางสังคมสงเคราะห์มาใช้กับตนเองในการรับมือกับปัญหาทางสังคมรวมทั้งกับบุคคลใกล้ชิด ประการต่อมาการเชื่อมโยงหลักการทางศาสนาเข้ามาใช้ในการจัดการตนเอง ซึ่งเป็นการนำหลักคำสอนทางศาสนาเข้ามาประยุกต์กับองค์ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ในการเข้าใจตนเองเข้าใจสังคมและนำมาบูรณาการกับหลักความเชื่อทางศาสนาในการดำเนินชีวิต

References

ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา และ ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(2), 126-139.

นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2540). ทฤษฎีและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปุณฑรารัตน์ นาชัยโชติ. (2561). แนวคิดและทฤษฎี Abraham Maslow. สืบค้น 7 กรกฏาคม 2564. จาก http://phunthararat.blogspot.com/2021/11/abrahammaslow.html.

พงษ์เทพ สันติกุล. (2560). การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคมสำหรับนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์. (2554). ทักษะการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การอนามัยโลก. (2567). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย: 7 กุมภาพันธ์ 2567. สืบค้น 9 มิถุนายน 2567. จาก https://www.who.int/thailand/news/detail/07-02-2024-update-on-covid-19-in-thailand--7-february-2024-THA.

Denzin, N. K. (1989). Interpretive interactionism. Newbury Park: CA: Sage.

Giddens, A. (2001). Introduction. In A. Giddens. (Eds.). The global third way debate. (pp. 1-21). Cambridge: Polity.

Maslow. A. A (1943). Theory of human motivation. Psychological Review. New York: McGraw-Hill.

National Association of Social Workers. (2013). NASW Standards for Social Work Case Management. Washington, D.C.: National Association of Social Workers.

Richmond, M. E. (2017). Social diagnosis. New York: Russell Sage Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21