ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ (2) ปัจจัยความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ และ (3) ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานจำนวน 348 คน ซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ คือ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ในงานและโอกาสก้าวหน้า และ ด้านจิตอารมณ์ 2) ปัจจัยความผูกพันต่อองค์การทุกด้านส่งผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การ คือ ด้านความรู้ในงานและโอกาสก้าวหน้า ด้านการปฏิบัติงาน ด้านจิตอารมณ์ และ ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริม การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการสร้างความผูกพันต่อองค์การให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
References
มติชน. (2563). กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สารเคมีที่เป็นประโยชน์และโทษ ต้องรู้จักเลือกใช้อย่างถูกต้องจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_157828.
วิชชุดา สุขก้อน และ ระบิล พ้นภัย. (2562). ศึกษาผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 13(1), 191-200.
สมพงษ์ เพชรี และ กล้าหาญ ณ น่าน. (2562) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จํากัด. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 82–99.
สำนักศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อการส่งเสริมการมีงานทำ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชนา ฟองอนันตรัตน์. (2560). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจ สันติบาล 3 กองบัญชาการตำรวจสันติบาล. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อภิญญา ขนุนทอง. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565:อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (วิจัยกรุงศรี). สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industryoutlook/petrochemicals/petrochemicals/io/io-petrochemicals-20.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of occupational psychology, 63(1), 1-18.
Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. 1986. Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500-507.
Organ, D. W. (1994). Personality and organizational citizenship behavior. Journal of management, 20(2), 465-478.
Rhoades, L., & Eisenberger, R. 2002. Perceived organizational support: A review of the literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698-714.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.