ความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ความพร้อม, รัฐบาลดิจิทัล, เทศบาลเมืองบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไป ของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) โดยการสุ่มตัวอย่างตามแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และเลือกเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือจนครบ จำนวน 149 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านที่เทศบาลเมืองบางศรีเมืองมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านกลยุทธ์และความเป็นผู้นำ รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยทางสารสนเทศ ด้านรูปแบบภารกิจ ด้านความสามารถทางดิจิทัล ด้านบริหารประสบการณ์ของผู้รับบริการ และน้อยที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมจากภาครัฐ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษาและประเภทของบุคลากรที่ต่างกันมีความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ของเทศบาลเมืองบางศรีเมืองที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). แผนปฏิบัติการดิจิทัล กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน). สืบค้น 14 มีนาคม 2566. จาก https://www.dla.go.th/templateOrganize/temp1/e_book_detail.jsp?id=23819.
นฤมล ศรีมุกข์, จิดาภา ชุ่มจันทร์, ปิยนุช เกื้อเพชร, วรรณภรณ์ บริพันธ์ และ เจษฎา นกน้อย. (2561). การเตรียมความพร้อมด้านนวัตกรรมของบุคลากรในบริษัทเอกชน: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 (น. 1-7). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
นันทกาญจน์ เทียมเมฆา. (2561). ความพร้อมของข้าราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในการเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักบริหารงานกลาง. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
นิธิพร คงแก้ว และ ไอริน โรจน์รักษ์. (2564). ความพร้อมของบุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคลต่อการเข้าสู่ยุค HR 4.0 กรณีศึกษา บุคลากรสำนักทรัพยากรบุคคล ในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 47(1), 161-174.
ปนิตา อภิสราโชติ. (2566). ความพร้อมของบุคลากรสำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมในการเข้าสู่ศาลดิจิทัล (D-Court 2020). (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
พัชรี ดีพร้อม. (2563). ความพร้อมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ศิรินทรา มินเดินเรือ. (2561). เครื่องมือประเมินความพร้อมด้านดิจิทัลขององค์กร. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).
สมชาย เลิศวิเศษธีรกุล, บดินทร์ รัศมีเทศ และ กมลพรรณ แสงมหาชัย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 285-294). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี. (2566). รายงานสถิติจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2566. สืบค้น 12 มีนาคม 2567. จาก https://nontburi.nso.go.th/reports-publications/provincial-statistics-report/nonthaburi-province-statistical-report-2023.html.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580). สืบค้น 14 มีนาคม 2566. จาก http://nscr.nesdc.go.th/ns/.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้น 14 มีนาคม 2566. จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.
อมราลักษณ์ สุภาพินิจ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชี เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อุษณี เทียนหอม และ รุจิกาญจน์ สานนท์. (2563). ความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(1), 39–51.
Blake, R. R. & Mouton, J. S. (1964). The Managerial Grid. TX: Gulf Publishing: Houston.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 55.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd Edition). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.