การวิเคราะห์การกระจุกตัวและปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างสายการบินในอุตสาหกรรมการบินของไทย

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ สินสุวงศ์วัฒน์ นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การวัดการกระจุกตัว, การวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบ, ตลาดผู้ขายน้อยราย, อุตสาหกรรมการบินของไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างตลาดและการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างสายการบินในอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างตลาด และการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้แนวคิดการกระจุกตัวของอุตสาหกรรม ได้แก่ อัตราการกระจุกตัว (Concentration Ratio: CR) ดัชนีเฮอร์ฟินดาห์ล-เฮิร์ชแมน (Herfindahl – Hirschman Index: HHI) และแบบจำลองการคาดคะเนเกี่ยวกับปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ (Conjectural Variations: CVs) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2557–2566 ผลการศึกษาโครงสร้างตลาดและการกระจุกตัวพบว่า อุตสาหกรรมการบินมีโครงสร้างตลาดแบบผู้ขายน้อยราย พฤติกรรมการแข่งขันมีทั้งทางด้านราคาและมิใช่ราคา การกระจุกตัวของอุตสาหกรรมมีความสอดคล้องกันทั้ง CR และ HHI โดยค่า CR มีค่าอัตราการกระจุกตัวรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินร้อยละ 60 ค่า HHI มีค่ามากกว่า 0.18 มีค่าการกระจุกตัวที่สูง แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มใกล้เคียงกับโครงสร้างตลาดแบบผู้ขายนน้อยราย การวิเคราะห์การคาดคะเนปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ โดยการแบ่งการสายการบินออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสายการบินที่ให้บริการแบบเต็มรูปแบบ และกลุ่มสายการบินที่ให้บริการแบบต้นทุนต่ำ พบว่าค่า CVs มีค่าแตกต่างกันและมีค่าเป็นบวก หมายความว่าเมื่อสายการบินหนึ่งมีการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงปริมาณการขนส่งผู้โดยสารของตน สายการบินนั้น ๆ จะมีการคาดคะเนปฏิกิริยาโต้ตอบจากสายการบินคู่แข่งที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขนส่งผู้โดยสารของตนไปในทิศทางเดียวกัน แต่เปลี่ยนแปลงในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป และพบว่าแต่ละสายการบินให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขนส่งผู้โดยสารโดยเฉพาะกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณการขนส่งผู้โดยสารของสายการบินที่ให้บริการแบบต้นทุนต่ำมากกว่าสายการบินที่ให้บริการแบบเต็มรูปแบบ

References

นภิศรา นาทะพันธุ์. (2551). พฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมดนตรีในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน). (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2548). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรดี จงอัศญากุล. (2555). การจัดการองค์กรอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิไลวรรณ วรรณนิธิกุล. (2538). เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและทฤษฎีต้นทุน หน่วยที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2567). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ปี 2566. สืบค้น 19 เมษายน 2567. จาก https://www.caat.or.th/th/archives/82897.

Dinarjito, A. (2023). A Structure-Conduct-Performance Analysis of Commercial Air Transportation Industry in Indonesia. Jurnal Pajak dan Keuangan Negara, 4(2), 504-511.

Gollop, F. M., & Roberts, M. J. (1979). Firm interdependence in oligopolistic markets. Journal of econometrics, 10(3), 313-331.

Ilbeyi, G. (2021). Strategic Groups in The European Airline Industry and Their Competitive Position. (Master of Science, Johannes Kepler University Linz).

Komleh, R. A. (2018). Supply, demand and price under oligopoly: A review from advantage and disadvantage of proposed theories. Retrieved 2 September 2023. from https://www.researchgate.net/publication/329167694_Supply_demand_and_price_under_oligopoly_A_review_from_advantage_and_disadvantage_of_proposed_theories.

World Air Transport Statistics. (2022). Unveiling the biggest airline cost. Retrieved 1 September 2024. from https://www.iata.org/en/publications/newsletters/iata-knowledge-hub/unveiling-the-biggest-airline-costs/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

สินสุวงศ์วัฒน์ จ., & ทรัพย์วโรบล ธ. (2024). การวิเคราะห์การกระจุกตัวและปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างสายการบินในอุตสาหกรรมการบินของไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 167–178. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275592