กลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กบินทร์

ผู้แต่ง

  • ณิชารีย์ ไชยทะเศรษฐ นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ประเทศไทย
  • จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สังคมแห่งความยั่งยืน, ชุมชนยั่งยืน, เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานภาพปัจจุบันของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ (2) วิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (3) เสนอกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่นิคมอุสาหกรรมไฮเทค กบินทร์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 8 หน่วยงาน จาก หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพปัจจุบันในมิติกายภาพมีการสนับสนุนด้านทรัพยากรเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ส่วนมิติเศรษฐกิจและสังคม นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กบินทร์ มีสภาพคล่องทางการเงิน และชุมชนโดยรอบต้องการมีอาชีพและเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ มิติสิ่งแวดล้อมได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด และมีแผนจัดทำข้อมูลก๊าซเรือนกระจก มิติการบริหารจัดการ มีการส่งเสริมการรับรองมาตรฐานระดับสากลของโรงงาน สภาพแวดล้อมภายในนิคมฯ มีการบริหารจัดการที่ดีแต่บุคลากรไม่เพียงพอ ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกมีภาครัฐสนับสนุนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน นำมาซึ่ง 10 กลยุทธ์ และ 13 แนวทางสู่การพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อาทิ การสร้างความร่วมมือด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมชุมชนให้มีอาชีพและพัฒนาความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง การลดการใช้ต้นทุนโดยใช้หลัก 3R (reuse reduce recycle) และจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอนาคต

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2564). ออนไลน์คู่มือความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. สืบค้น 5 มีนาคม 2565. จาก https://shorturl.at/oyf7Y.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2554). ข้อกำหนดคุณลกัษณะมาตรฐานของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://shorturl.at/JsU6W.

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2555). การวิเคราะห์หลักการมีส่วนร่วมขอประชาชน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1), 123-141.

ณัฐวุฒิ หาญสุวัฒน์. (2565). รู้จักกับข้อดี-ข้อเสียของ Hybrid Work ทั้ง 5 แบบ. สืบค้น 6 มีนาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/xqcwb.

บริษัท ไฮเทค กบินทร์ โลจิสติกส์ จำกัด. (2558). รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: บริษัท เทคนิคสิ่งแวดลอมไทย จํากัด.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2565). วิธีการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้ง. สืบค้น 5 มีนาคม 2565 จาก https://www.popticles.com/communications/how-to-resolve-conflict-in-communication/.

โพสต์ ทูเดย์. (2556). กนอ.ผุดนิคมฯไฮเทค 2 ที่ปราจีนบุรี. สืบค้น 3 มีนาคม 2565. จาก https://www.posttoday.com/market/news/226735.

มณีวรรณ สว่างแจ้ง. (2538). การศึกษาปัจจัยการเลือกที่ตั้งและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของ โรงงาน อุตสาหกรรม ในเขตผังเมืองรวมชุมชนอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (รายงานผลงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สู่พนักงานระดับปฏิบัติการ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(1), 146-157.

สมชาย มุ้ยจีน. (2557). แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

Senxproperty. (2019). What kind of construction can be done with each color of the city plan?. Retrieved 3 March 2022. from https://shorturl.at/1i3je.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ไชยทะเศรษฐ ณ., & ชมพันธุ์ จ. (2024). กลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กบินทร์. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 37–50. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/276285