ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ภัทราวดี ฟูทำ นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประเทศไทย
  • นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ส่วนประสมทางการตลาด, การเปิดรับสื่อออนไลน์, ผู้ทรงอิทธิพล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับทัศนคติ ส่วนประสมทางการตลาด การเปิดรับสื่อออนไลน์ ผู้ทรงอิทธิพลและการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปาง และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปาง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคในจังหวัดลำปางที่ใช้เคยบริการศัลยกรรมความงาม จำนวน 385 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามออนไลน์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ แบบ Enter ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทัศนคติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ส่วนประสมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 การเปิดรับสื่อออนไลน์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ผู้ทรงอิทธิพลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ปัจจัยทัศนคติ ส่วนประสมทางการตลาด การเปิดรับสื่อออนไลน์และผู้ทรงอิทธิพลส่งผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และสามารถทำนายการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปางได้ร้อยละ 60.8

References

กนกพร กระจ่างแสง, ประสพชัย พสุนนท์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมการเลือกทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 64-75.

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). คนรุ่นใหม่ทำศัลยกรรม “จมูก-ตา”พุ่ง เสริมงาน เพิ่มความมั่นใจ. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1128261.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ไทยโพสต์. (2566). ธุรกิจศัลยกรรมไทยบูมแต่แข่งดุ. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://www.thaipost.net/columnist-people/438788/.

ไทยโพสต์. (2566). ศัลยกรรม…ไม่ใช่แค่ความสวย แต่ปฏิวัติความมั่นใจ. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://www.thaipost.net/news-update/424863/.

ไทยรัฐ. (2566). ทิศทางศัลยกรรมความงามในไทยทำไมถึงได้รับความนิยมระดับโลก. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://www.thairath.co.th/news/society/2698100.

ไทยรัฐ. (2566). ศัลยกรรมไทย 4,000 แห่ง แข่งดุ ชิงเค้ก 7.2 หมื่นล้าน ท้าทายต้นทุนพุ่ง-โอเวอร์ซัพพลายจนต้องเลิกกิจการ. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/marketing/2720705.

ณัฐพล ม่วงทำ. (2566). สรุป 31 Thailand Digital Stat Insight 2023. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/thailand-data-digital-stat-insight-2023-from-we-are-social/.

ธนัชชา ศรีชุมพล และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้ใช้บริการชาวไทยที่อยู่ในเจเนอเรชัน X และเจเนอเรชัน Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 107-116.

ปาลิดา เขียวชอุ่ม, พิชญา รุ่งโรจน์, รพีภัทร ปราโมช, สิงหราช อุปพันธ์ และ ทัชชกร สัมมะสุต. (2567). การตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของกลุ่มผู้บริโภค Metrosexual ในจังหวัดชลบุรี. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 2(2), 13-28.

ภัทรวรินทร์ ออไอสูนย์ และ ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2567). การเปิดรับสื่อออนไลน์ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและความตั้งใจใช้บริการหัตถการด้านความงามของกลุ่มบิวตี้บีสต์ (Beauty Beasts). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(3), 181-191.

รุ่งนภา กิตติลาภ, อุมาวรรณ วาทกิจ และ ร่มสน นิลพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการศึกษาและวิจัยพุทธศาสนา, 6(1), 60-74.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ตลาดศัลยกรรมและเสริมความงามแข่งขันรุนแรงเพื่อแย่งชิงลูกค้าที่มีศักยภาพ. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Surgery-FBC273-FB-25-08-2023.aspx.

สุจินดา ดวนด่วน และ เศรษฐวัสภุ์ พรมสิทธิ์. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ คุณค่าตราสินค้า พฤติกรรมและทัศนคติต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน (โบท็อกซ์) เพื่อความงามของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 177-193.

สุพัตรา ท้าวพิณ และ พนารัตน์ ลิ้ม. (2563). คุณลักษณะความน่าเชื่อถือของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของวัยรุ่นไทย. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(1), 128-148.

อินทิรา บาลนคร และ รัชดา ธูปทอง. (2567). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกความงาม Chana Clinic. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 275-286.

Brennan, R. L. (1972). A generalized upper-lower item discrimination index. Educational and Psychological Measurement, 32(2), 289-303.

Duncan, T. (2008). Principles of Advertising & IMC. (2nd ed.). New York: McGraw Hill.

Hawkins, D. & Mothersbaugh, D. (2010). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy. New York: McGraw Hill.

Kotler, P. (1997). Marketing management. New York: Prentice-Hall.

Kotler. P., & Keller, K. L. (2008). Marketing management. (13th ed.). New Jersey: Pearson.

Miles, J., & Shevlin, M. (2001). Applying Regression and Correlation: A Guide for Students and Researchers. London: Sage.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Rovinelli, R., & Hambleton, R. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Retrieved 11 March 2023. from https://eric.ed.gov/?id=ED121845.

Schermerhorn, J. R. (2000). Management. (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (2000). Organizational behavior. Boston: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ฟูทำ ภ., & เนตรประดิษฐ์ น. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 281–292. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/276579