อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • อุตมะ ปภาภูธนะนันต์ นักศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธีรพล กาญจนากาศ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • สมคิด ดวงจักร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

อิทธิพลของคุณภาพการบริการ, ความพึงพอใจผู้ใช้บริการ, พิพิธภัณฑ์ครุฑ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับอิทธิพลของคุณภาพการบริการ (2) ความพึงพอใจผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต และ (3) อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบวิธีบังเอิญ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับอิทธิพลของคุณภาพการบริการของพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้มารับบริการ 2) ระดับความพึงพอใจผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ พบว่า โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy=.870) และตัวแปรพยากรณ์ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปแบบของคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 369, .325, .256, .254 และ .211 และมีอำนาจการพยากรณ์ (R2=756) หรือ ร้อยละ 75.60 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อิทธิพลของคุณภาพการบริการมีผลทางบวกต่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวปี 2566 และแนวโน้มปี 2567. สืบค้น 5 มีนาคม 2567. จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11273.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567. จากhttp://www.tourism.go.th/view/3.

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, กฤติกา สายณะรัตร์ชัย และ ศรัญญา ศรีทอง. (2565). คุณภาพและอิทธิพลของระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงต่อประโยชน์สุทธิของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน Z. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(2), 93-117.

จักรินทร์ พรหมดิเรก. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนตอการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ณัฎฐพัชร์ วรกุลวรรธนะ, ศิริเพ็ญ ดาบเพชร และ ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2566). การวิเคราะห์ความสำคัญและประสิทธิผลวามดึงดูดใจของพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน, 7(2), 123-146.

พิพิธภัณฑ์ครุฑ. (2554). ความเชื่อและการกำเนิดจักรวาล. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566. จาก https://www.museumthailand.com/th/museum/Garuda-Museum.

. (2567). มิวเซียมไทยแลนด์. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.museumthailand.com/th/museum/Garuda-Museum.

ภัทรมุข พงษธา และ สันติธร ภูริภักดี. (2566). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความพึงพอใจของผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์ในเขตกรุงเทพมหานคร. Rajapark Journal, 17(51), 92-106.

รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2550). การบริหารท้องถิ่น. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารงานภาครัฐหน่วยที่ 6-10. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรพจน์วิเศษศิริ, พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร และ ดิเรก ด้วงลอย. (2565). แนวทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 2(1), 14-27.

ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์. (2567). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด็น) ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 16 “Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2024” วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 (น. 518-526). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2564). กระบวนการจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริการของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5393-5406.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สุขุม อ้นทอง, วัลลภา พัฒนา และ พิเชษฐ์ พรหมใหม่. (2565). คุณภาพการบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 4(2), 25-46.

สุทธิเชษฐ์ พานเพียรศิลป์. (2558). อิทธิพลของปัจจัยคุณภาพบริการต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้ บริการคลินิกรักษาสัตว์ “เมืองชลสัตวรักษ์”. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ปภาภูธนะนันต์ อ., ทวีสิน ณ., กาญจนากาศ ธ., & ดวงจักร์ ส. (2024). อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 373–386. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/277736