ความจำเป็นและความต้องการให้มีนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพในสถานศึกษา กรณีศึกษา: โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • วนภัทร์ แสงแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย
  • วรัญญา เต็มรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

นักสังคมสงเคราะห์ในโรงเรียน, ความต้องการ, ผู้ประสบปัญหาทางสังคม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้และความเข้าใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการมีนักสังคมสงเคราะห์ในสถานศึกษา (2) บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในสถานศึกษา และ (3) ความจำเป็นและความสำคัญในการมีนักสังคมสงเคราะห์ในสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรภายในสถานศึกษาจังหวัดปัตตานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือแบบสัมภาษณ์ โดยใช้คำถามแบบปลายเปิด เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างสามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ และวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้และความเข้าใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อการมีนักสังคมสงเคราะห์ในสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำชั้น ครูแนะแนวและครูฝ่ายปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนักสังคมสงเคราะห์ว่าเป็นวิชาชีพที่มีหน้าที่ ช่วยเหลือ แก้ไข ให้คำปรึกษากับผู้ที่ประสบปัญหาทางสังคมกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย 2) บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์มีความสำคัญต่อสถานศึกษาและมีส่วนช่วยส่งเสริมระบบการศึกษาในการปัญหาของนักเรียนที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาได้ซึ่งเป็นการเสริมการทำงานของครู 3) ความจำเป็นและความสำคัญในการมีนักสังคมสงเคราะห์ในสถานศึกษา จากข้อมูลพบว่านักสังคมสงเคราะห์มีความสำคัญและจำเป็นต่อสถานศึกษาหากผลักดันให้มีได้จริง ซึ่งการที่จะผลักดันให้มีนักสังคมสงเคราะห์ในสถานศึกษา จำเป็นที่จะต้องได้รับการผลักดันจากสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และกระทรวงศึกษาธิการ ข้อเสนอแนะ คือ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ควรประชาสัมพันธ์ให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ในสถานศึกษา หากไม่สามารถมีตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ได้ การนำครูเข้าอบรมเกี่ยวกับบทบาทและกระบวนการให้ความช่วยเหลือทางสังคมสงเคราะห์อาจเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยเหลือ แก้ไข บำบัด ฟื้นฟูและยับยั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาได้

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). ไทยอันดับ 2 “เด็กรังแกกันในโรงเรียน” พบเหยื่อปีละ 6 แสนคน. สืบค้น 5 มีนาคม 2566. จาก Https://www.dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id=27485.

กรมสุขภาพจิต. (2562). Stop Bullying หยุดการกลั่นแกล้ง ยุติความรุนแรงในสังคม. สืบค้น 3 มีนาคม 2566. จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30024.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2556). พัฒนาการสังคมสงเคราะห์อาเซียน มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2567). อเมริกาเหนือกับสังคมสงเคราะห์โรงเรียน School Social Work in North American Context เอกสารคำสอนหลักสูตรออนไลน์ SWPC E-learning: สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. สืบค้น 10 ตุลาคม 2567. จาก https://www.swpc.online/.

เฉลิมพล พลมุข. (2562). เด็กพิเศษ. สืบค้น 13 มิถุนายน 2566. จากhttp://www.matichon.co.th/artical/news_1594610.

ชวิศา เนาว์ไพร. (2563). “Ruffles Institution”: บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในโรงเรียนบทเรียนจากสิงคโปร์สู่ไทย. (ศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ไทยรัฐออนไลน์. (2558). ช็อก! ป.2 ฉี่ม่วง อายุ 8 ขวบ พี่ชายอยู่ ม.1 ให้น้องเสพ. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2567. จาก http://www.thairath.co.th/news/local/483727.

ปวริศร์ กิจสุขจิต. (2559). ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดการรังแกกันในโรงเรียนมัธยมสตรีในกรุงเทพมหานครตามแนวทฤษฎีเรียนรู้ของโรนัลด์ แอล เอเคอร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(1), 72-80.

มติชนออนไลน์. (2565). นักเรียนฆ่าตัวตาย. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2567. จาก http://www.matichon.co.th.

รวิพรรดิ พูลลาภ. (2560). ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย ความเครียด และการจัดการความเครียดของประชาชนในชุมชนน้ำจำและชุมชนบ้านเด่น ตำบลเมืองพาน อำเภอเมืองพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 72-85.

วรรณลักษณ์ เมียนเกิด. (2544). การประสานงานเพื่อพิทักษ์สิทธิเด็กที่ถูกกระทำทารุณระหว่างองค์กร สวัสดิการเด็กภาครัฐและภาคเอกชน. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วรสิทธิ์ เจริญศิลป์, วาสนา สุปินนะ, จุฑามาส สุขอิ่ม และ ศุภชัย นาทองไชย. (2562). การฆ่าตัวตายของนักศึกษากับการ ปรับตัวของครอบครัว มหาวิทยาลัยของรัฐ: การศึกษาโดย ใช้ข่าวในหนังสือพิมพ์เป็นฐาน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(21), 135-144.

สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษาที่มักถูกนำมาใช้พัฒนาด้านการเรียนการสอน. สืบค้น 28 กันยายน 2566. จาก https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/5.

อาจารี แก้วศรีงาม. (2551). ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีรู้คิดของเบค เพื่อลดภาวะซึมเศร้าของเด็กที่ถูกทารุณกรรม: กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์เด็กหญิงในจังหวัดสระบุรี. (ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Bye, L., & Alvarez, M. (2007). School social work: Theory to practice. Belmont, CA: Thompson Brooks/Cole.

CASW. (2002). The school social work. Retrieved 28 September 2023. from https://www.casw-acts.ca/en/ school-social-work). https://www.sswaa.org/about.

Huxtable, M. (2022). A Global picture of school social work in 2021. Retrieved 28 September 2023. from https://eric.ed.gov/?id=ED618727.

To, S. M. (2018). A qualitative analysis of the field experiences of Hong Kong school social workers in encountering different forms of power. In Youth Policies and Services in Chinese Societies (pp. 87-102). Oxfordshire: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

แสงแก้ว ว., & เต็มรัตน์ ว. (2024). ความจำเป็นและความต้องการให้มีนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพในสถานศึกษา กรณีศึกษา: โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในจังหวัดปัตตานี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 519–534. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/277871