แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
คำสำคัญ:
แนวทาง, การบริหารกิจการนักเรียน, สถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 308 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 8 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 และข้อคำถามการสนทนากลุ่ม สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลที่ได้จากการวิพากษ์ของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พบว่า ด้านการบริการและสวัสดิการนักเรียน ควรมีการวางแผนจัดทำคู่มือ ปฏิทิน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรมีการวางแผนติดตามรายบุคคล และคัดกรองข้อมูล ด้านวินัยนักเรียน ควรมีการกำหนดกฎระเบียบชัดเจน ส่งเสริมคุณธรรม และประสานงานแก้ไขปัญหา และด้านกิจกรรมนักเรียน ควรมีการวางแผนกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูลี่.
ชัยเดช อารีศิริไพศาล. (2562). การบริหารกิจการนักเรียนที่มีคุณภาพ. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019” 15 พฤษจิกายน 2562 (น. 248-256). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ตฤณ จุณณวัตต์ม, วจี ปัญญาใส และ สุมิตรา โรจนนิติ. (2566). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของกลุ่มโรงเรียนร่วมจิต-ผาเลือด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(5), 229-240.
ธิดาแก้ว แสงสุทธิ และจิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2565). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. Journal of Buddhist Education and Research, 8(1), 313-323.
นัฏพันธ์ ดิศเจริญ. (2565). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. Journal of Modern Learning Development, 7(3), 321-335.
พิมพ์ผกา โพธิจันทร์, นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2564). การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 79-92.
ภัทรสุดา พิชยกัลป์, ภาณุพัฒน์ บุตรดีไชย และ วิชิต ลือยศ. (2566). การบริหารกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมนักเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(2), 106-112.
รัชนู แสนสุข, วจี ปัญญาใส และ สุมิตรา โรจนนิติ. (2566). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(8), 141-155.
วิลาวัลย์ แสงประเสริฐ และธีระพงศ์ บุศรากูล. (2563). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 112-125.
วิวัฒน์ ตู้จำนงค์, สาริศา เจนเขว้า และ สุนทร โคตรบรรเทา. (2562). การสร้างวินัยในสถานศึกษา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” 30 มีนาคม 2562 (น. 609-618). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2560 (ปรับปรุง 2562). กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.
สุรพัชร เกตุรัตน์. (2561). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading. Attitude Theory and Measurement. (4th ed.). New York: McGraw Hill.
Lunenburg, F. C. & Ornstein, A. C. (2012). Educational Administration: Concepts and Practices. (4th ed.). Belmont: Wadsworth Cengage Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.