แนวทางการส่งเสริมการเข้าถึงประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษากลุ่มหาบเร่แผงลอย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นภาภิรมย์ สุระมาตย์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
  • สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แรงงานนอกระบบ, หาบเร่แผงลอย, ประกันสังคม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงประกันสังคมของกลุ่มหาบเร่แผงลอย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม แนวคิดเกี่ยวกับการประกันสังคมและแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกรอบการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ หาบเร่แผงลอยที่อยู่ในจุดผ่อนผันทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ ถนนแพร่งนรา ถนนตานี ถนนจักรเพชร พาหุรัด ตรีเพชร ถนนพาหุรัดฝั่งไชน่าเวิลด์ ถนนไกรสีห์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานเทศกิจ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนทั้งหมด 38 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการทำกลุ่มสนทนาและใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแยกแยะเนื้อหาสาระและเขียนพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ กรณีศึกษากลุ่มหาบเร่แผงลอยเป็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งที่เกิดจากตนเอง เช่น สภาวะทางเศรษฐกิจ การขาดความรู้ความเข้าใจการไม่สนใจที่จะศึกษาการเข้าถึงประกันสังคมด้วยตนเองและเกิดจากการทำงานของภาครัฐ เช่น คุณภาพการบริการ การขาดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ความไม่เท่ากันเกี่ยวกับสวัสดิการของแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ สภาพการทำงาน โดยการกำกับดูแลจากทางภาครัฐ ทั้งในเรื่องกฎหมายและนโยบายเป็นทั้งการส่งเสริมและการสร้างความไม่มั่นคงให้กับอาชีพหาบเร่แผงลอย ซึ่งมีความขัดแย้งกันนำไปสู่ปัญหา อุปสรรคในการเข้าถึงประกันสังคม ปัจจัยในการเข้าถึงประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ กรณีศึกษากลุ่มหาบเร่แผงลอย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยอนามัย ปัจจัยจูงใจและปัจจัยด้านนโยบาย โดยปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงประกันสังคมส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัจจัยในการเข้าถึงประกันสังคมโดยตรง

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ: ทูเกเตอร์ เอ็ดดูเทนเมนท์.

คณะวิชาการ. (2560). รวมกฎหมายแรงงาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

เจษฎาพงศ์ พรหมเผ่า. (2558). ปัญหาเกี่ยวกับการได้รับสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558. (นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

ชาคร เลิศนิทัศน์ และ สมชัย จิตสุชน. (2561). หาบเร่แผงลอย: วิถีชีวิตที่รัฐมองข้าม. สืบค้น 17 กันยายน 2566. จาก https://tdri.or.th/2018/04/thailandstreet-food/.

ธัญภรณ์ เรือนดี. (2558). การรับรู้และการเข้าร่วมในระบบหลักประกันสังคมแบบสมัครใจ (มาตรา 40). (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

นิรันดร์ ทิพย์ธนนนท์. (2561). การเข้าถึงประกันสังคมของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 6(1), 92-102.

บัณฑิต จุลาสัย. (2566). พระนครศึกษา. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2567. จาก https://mooc.chula.ac.th/course-detail/156.

ปัญญาภร วงศ์ฉายา. (2558). การรับรู้และการตัดสินใจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของผู้ประกอบอาชีพอิสระ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดแพร่. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ปิยพัชร์ ภักดี และ จิดาภา พรยิ่ง. (2566). การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่แผงลอย. วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 11(1), 66-88.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2563). ความ(ไม่)รู้เรื่องแรงงานนอกระบบ. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2565. จาก https://tdri.or.th/2020/03/informal- employment-what-we-dont-know/?fbclid=IwAR1URK7e9LcOnT6ObNw-_6kzmq55JrjIEyuBwynYZPOOao286oWvAOJcvxY.

สำนักงานเทศกิจ กรุงเทพมหานคร. (2567). รายชื่อหาบเร่แผงลอยที่อยู่ในจุดผ่อนผัน. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2567. จาก https://cdn.fbsbx.com/v/t59.2708-21/441508587_844529337486905_7237453715635696491_n.xlsx/17153295075.

สำนักเทศกิจ. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2564. สืบค้น 17 กันยายน 2566. จาก https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwjPme6gzriBAxVPd2wGHdVbCMQQFnoECAwQAQ&url=https%3A%2F%2.

Abel-Smith, B. (2023). Social security government program. Retrieved 18 October 2023. from https://www.britannica.com/money/topic/social-security-government-program.

United Nations Trust Fund for Human Security. (2018). What is Human Security. Retrieved 18 October 2023. from https://www.un.org/humansecurity/what-is-human-security/.

United Nations. (2020). Social welfare. Retrieved 18 October 2023. from https://archive.unescwa.org/social-welfare.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

สุระมาตย์ น., & ตั้งตรงไพโรจน์ ส. (2024). แนวทางการส่งเสริมการเข้าถึงประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษากลุ่มหาบเร่แผงลอย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 349–360. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/278459