การพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยแนวคิดการบริการคุณภาพโดยภาพรวม (TQM) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5

ผู้แต่ง

  • ปิยพร ร่มแสง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ประเทศไทย
  • สุดาภรณ์ กิจกุลนำชัย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การขึ้นทะเบียน, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยแนวคิดการบริการคุณภาพโดยภาพรวม (TQM) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (2) เพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขการพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยแนวคิดการบริการคุณภาพโดยภาพรวม (TQM) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 และ (3) เพื่อติดตามผลลัพธ์จากการปรับปรุงและแก้ไขการพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยแนวคิดการบริการคุณภาพโดยภาพรวม (TQM) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการเก็บข้อมูลคือแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) และผู้วิจัยนำขั้นตอนการจัดทำ TQM (Total Quality Management) มาปรับใช้ในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านปัญหาและอุปสรรคพบว่าสำนักงานฯ ขาดการจัดทำระบบฐานข้อมูล เน้นการจัดทำเอกสารในรูปแบบเอกสารทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและสิ้นเปลืองพื้นที่ภายในสำนักงานฯ รวมถึงการสืบค้นข้อมูลการขึ้นทะเบียนฯ เป็นไปได้ยาก เอกสารสูญหายบ่อยครั้ง และสิ้นเปลืองเวลาในการจัดทำเอกสาร 2) ด้านแนวทางการปรับปรุงและแก้ไขพบว่าหลังจากการจัดทำฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแล้วพบว่าผู้ปฏิบัติงานทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น และข้อมูลการขึ้นทะเบียนถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูล ลดเวลาการทำงาน และ 3) การติดตามผลลัพธ์จากการปรับปรุงและแก้ไขพบว่าผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากขึ้นหลังจากการจัดทำระบบฐานข้อมูลของการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2566). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการ. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2567. จาก www.labour.go.th/index.php/about/about-m5.

กองความปลอดภัยแรงงาน. (2566). ความเป็นมา อำนาจหน้าที่. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2567. จาก https://osh.labour.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=53.

ศศิล คำนึง. (2563). การให้ความหมายเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของข้าราชการ ตำรวจ กองคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology Press.

Knouse, S. B., Carson, P. P., Carson, K. D., & Heady, R. B. (2009). Improve constantly and forever: The influence of W. Edwards Deming into the twenty-first century. The TQM journal, 21(5), 449-461.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ร่มแสง ป., & กิจกุลนำชัย ส. (2024). การพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจด้วยแนวคิดการบริการคุณภาพโดยภาพรวม (TQM) ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 559–568. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/278777