การพัฒนาทักษะการโต้แย้งและความสามารถในการตัดสินใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (SSI) ร่วมกับการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ธัญญาลักษณ์ มาตมูล นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • ศิริพงษ์ เพียศิริ สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การโต้แย้ง, การตัดสินใจ, ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (SSI) ร่วมกับการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ (2) พัฒนาความสามารถในการตัดสินใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (SSI) ร่วมกับการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (SSI) ร่วมกับการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 6 ชั่วโมง เวลา 12 ชั่วโมง แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบทักษะการโต้แย้งท้ายวงจร และแบบทดสอบความสามารถในการตัดสินใจท้ายวงจร แบบทดสอบทักษะการโต้แย้ง และแบบทดสอบความสามารถในการตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนทักษะการโต้แย้งเฉลี่ยเท่ากับ 12.33 คิดเป็นร้อยละ 82.20 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนคะแนนความสามารถในการตัดสินใจเฉลี่ยเท่ากับ 20.33 คิดเป็นร้อยละ 84.72 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. (2554). เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network). สืบค้น 12 มกราคม 2567. จาก http://friendly2011.blogspot.com/2011/07/online-social-network.html.

ณัฐวัตร อ้ายแก้ว และ สุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุพิบูล, 8(1), 135-147.

นฤมล บุญส่ง. (2561). สื่อสังคมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสาร Veridian E-Journal, 11(1), 2873-2885.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พินิจ ขำวงษ์. (2551). สอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้สอดคล้องกับชุมชนเมือง. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิพัฒน์ อัฒพุธ, ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และ ดิเรก ธีระภูธร. (2560). ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการเรียนเชิงรุก วิชาการออกแบบและผลิตสื่อกราฟฟิกคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 145-154.

ภัณฑิรา แย้มพยุง. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ผนวกการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2557). การพัฒนาศักยภาพนิสิตครูในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม โดยการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองผนวกการสะท้อนความคิดผ่านเครือข่ายสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(5), 29-44.

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งศตวรรษที่ 21. สมุทรปราการ: บอสส์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต้นแบบ การเรียนทางด้านหลักและทฤษฎีแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อัญชลี ทองเสน. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทางการพยาบาล. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

อัศวิน ธะนะปัด. (2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Andrews, J., & Smith, D. C. (1996). In search of the marketing imagination: Factors affecting the creativity of marketing programs for mature products. Journal of Marketing Research, 33(2), 174-187.

Driver, R., Newton, P., & Osborne, J. (2000). Establishing the norms of scientific argumentation in classrooms. Science Education, 84(3), 287-312.

Eggert, S., & Bögeholz, S. (2010). Students' use of decision-making strategies with regard to socioscientific issues: An application of the Rasch partial credit model. Science Education, 94(2), 230-258.

Lee, Y. C., & Grace, M. (2012). Students' reasoning and decision making about a socioscientific issue: A cross-context comparison. Science Education, 96(5), 787-807.

Levinson, R. (2006). Towards a theoretical framework for teaching controversial socio‐scientific issues. International Journal of Science Education, 28(10), 1201-1224.

Lin, S. S., & Mintzes, J. J. (2010). Learning argumentation skills through instruction in socioscientific issues: The effect of ability level. International Journal of Science and Mathematics Education, 8, 993-1017.

Loucks-Horsley, S., Love, N., Stiles, K., Mundry, S., & Hewson, P. (2003). Designing professional development for teachers of science and mathematics. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Nuangchalerm, P. (2010). Engaging students to perceive nature of science through socioscientific issues-based instruction. European Journal of Social Science, 13(1), 34-37.

Osborne, J., Simon, S., & Erduran, S. (2004). Challenges in developing scientific argumentation skills: A global perspective. International Journal of Science Education, 26(8), 1007-1025.

Partnership for 21st Century Skills. (2011). A framework for 21st century learning. Retrieved 12 January 2024. from http://www.p21.org/home.

Ratcliffe, M., & Grace, M. (2003). Consequences of failing to develop decision-making skills in science education: Impacts on students and society. International Journal of Science Education, 25(10), 1209-1229.

Sadler, T. D. (2004). Teaching decision-making in science education: Challenges and opportunities. Science Education, 88(1), 1-19.

UNESCO. (2017). Education for sustainable development goals: Learning objectives. Paris: UNESCO. Retrieved 12 January 2024. from https://unesdoc.unesco.org/.

Zeidler, D. L., & Keefer, M. (2003). The role of moral reasoning and the status of socioscientific issues in science education: Philosophical, psychological and pedagogical considerations. In D. L. Zeidler (Ed.). The role of moral reasoning on socioscientific issues and discourse in science education (pp. 7-38). Netherlands: Kluwer Academic Publisher.

Zeidler, D., & Nichols, B. (2009). Socioscientific issues theory and practice. Journal of Elementary Science Education, 21(2), 49-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

มาตมูล ธ., & เพียศิริ ศ. (2024). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งและความสามารถในการตัดสินใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (SSI) ร่วมกับการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 453–468. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/278941