กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
คำสำคัญ:
การพัฒนากลยุทธ์, การบริหารงานวิชาการ, การพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการ (2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ และ (3) ตรวจสอบประสิทธิภาพของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา การวิจัยแบ่งออก เป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 343 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานบริหารวิชาการ จำนวน 132 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบประสิทธิภาพของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 2) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการมี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านที่ 3 การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ด้านที่ 4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านที่ 5 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาด้านที่ 6 การนิเทศการศึกษา รวม 32 กลยุทธ์ 3) ประสิทธิภาพของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51
References
กฤษณพร จันทวงศ์. (2562). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).
กาญจน์ เรืองมนตรี และ ธรินธร นามวรรณ. (2554). การบริหารวิชาการและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
ชัชฎาภรณ์ อร่ามรุณ. (2565). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).
ณัฐยา สินตระการผล. (2563). คิดเชิงกลยุทธ์=Strategic thinking : ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอกซ์เปอร์เน็ท.
ธีรารัตน์ ไตรสรณะศาสตร์. (2567). สภาพและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประภาภรณ์ ภูขาว. (2567). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. Journal of Applied Education, 2(5), 1-8.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2566). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปุณิกา เทียนใส. (2557). สภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนวัดเศวตฉัตร สํานักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).
พระมหาอำพล ธนปญฺโญ (ชัยสารี). (2567). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. Journal of Applied Education, 2(5), 29-36.
ลิขิต เวทย์อุดม. (2564). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุทธาทิพย์ หาญเมือง. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครแม่สอด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).
Dess, G.G. & Miller, A. (1993). Strategic Management. New York: McGraw - Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.