การศึกษาการบริโภคและการก่อหนี้บัตรเครดิตของกลุ่มวัยเริ่มทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครของประเทศไทย
คำสำคัญ:
วัยเริ่มทำงาน, การบริโภค, หนี้บัตรเครดิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริโภคและการก่อหนี้ และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ ของกลุ่มวัยเริ่มทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยได้ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดและทฤษฎีการบริโภคตามวัฏจักรชีวิต และลำดับขั้นของความต้องการของ Maslow 5 ลำดับขั้น รวมถึงแนวคิดการเลือกที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา (Choosing When to Act) งานวิจัยนี้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานวัยเริ่มทำงาน มีแหล่งรายได้ประจำ และมีสินเชื่อบัตรเครดิต ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยคัดแยกและสุ่มตัวอย่างจำนวน 434 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และแบบจำลองทางเศรษฐมิติ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษา พบว่า เพศหญิงจะมีค่าใช้จ่ายตามปัจจัย 4 มากกว่าเพศชาย ส่วนเพศชายจะมีค่าใช้จ่ายด้านกิจกรรมสังสรรค์มากกว่า และสัดส่วนเงินออมต่อรายได้ของกลุ่มแรงงานใหม่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะแรงงานอยู่ในอุตสาหกรรมโรงแรมร้านอาหารจะมีรายได้และเงินออมน้อยกว่าสายอาชีพอื่น นอกจากนี้ แรงงานรุ่นใหม่จะมีทัศนคติความโน้มเอียงในการบริโภคในปัจจุบันต่อกิจกรรมสังสรรค์ โดยจะบริโภคหรือใช้จ่ายทันทีเมื่อมีโอกาส แต่จะไม่กระตุ้นให้เกิดการชำระสินเชื่อบัตรเครดิตต่อเดือน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการก่อหนี้ของกลุ่มตัวอย่าง คือ ปริมาณเงินออมที่จะช่วยลดปริมาณภาระหนี้คงค้าง ในขณะที่กลุ่มอาชีพที่แตกต่างกัน และการใช้จ่ายในสินค้าประเภทเสื้อผ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดการใช้สินเชื่อบัตรเครดิตจากปริมาณการผ่อนชำระสินเชื่อต่อเดือนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิตควรมีนโยบายควบคุมการใช้จ่ายของพนักงานวัยเริ่มทำงาน โดยกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระที่สั้นลงและควบคุมจำนวนบัตรเครดิตที่ถือครอง เพื่อช่วยลดภาระหนี้
References
จันทิมา สุขเนตร และ ปนัดดา อินทร์พรหม. (2561). พฤติกรรมการใช้และการชำระหนี้บัตรเครดิตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(27), 76–84.
โชติกา ศุภนภาโสตถิ์. (2561). พฤติกรรมและรูปแบบการออมของแรงงานนอกระบบ. (เศรษฐศาสตรมหาบัณทิต, สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
ณัฐพงศ์ มานารัตน์. (2563). การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตที่ค้างชำระและวิธีการจัดการหนี้ค้างชำระของบัตรเครดิตของผู้บริโภควัยทำงานนอำเภอเมืองเชียงใหม่. (เศรษฐศาสตรมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
เดชอนันต์ บังกิโล, วิภา สำราญ และ ธนพร หอมละออ. (2566). ปัจจัยที่ผลต่อการก่อหนี้ในระบบภาคครัวเรือนในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์, 8(2), 21-41.
พรทิพย์ แสงช่วง และ ศิวพงศ์ ธีรอำพน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้นอกระบบของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(2), 59-69.
ภูเบศร์ สมุทรจักร และ มนสิการ กาญจนะจิตรา. (2557). พฤติกรรมบริโภคนิยมในวัยรุ่นไทย และปัจจัยที่เป็นสาเหตุ. วารสารธรรมศาสตร์, 33(1), 46-69.
มาริสา สกุลวัฒนา. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ กรณีศึกษาของกลุ่มพนักงานใหม่วัยเริ่มทำงานของบริษัทเอกชน. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ลลิลล์ณิฏา เย็นทูล. (2564). พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของใช้ฟุ่มเฟือยของกลุ่มลูกค้า Gen Z ในเขตพื้นที่ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2565). หนี้ครัวเรือนไทย วิกฤติแค่ไหน ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม. สืบค้น 10 ตุลาคม 2567. จาก https://projects.pier.or.th/household-debt/.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. (2567). สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจของไทยและผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของเศรษฐกิจ. สืบค้น 10 ตุลาคม 2567. จาก https://tpso.go.th/document/2405-0000000017.
สุพริศร์ สุวรรณิก. (2567). หนี้ครัวเรือนส่งผลอย่างไรต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ?. สืบค้น 2 ธันวาคม 2567. จาก https://www.pier.or.th/blog/2024/0201/.
อักขราวรรณ อักขระชาตะ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ SpayLater ของแอพพลิเคชั่น Shopee ของประชาชนช่วงอายุ 18 – 25 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
Cartwright, E. (2014). Behavioral Economics. (2nd Ed.). New York: Routledge.
Cochran G, W. (1977). Sampling Techniques. (3rd Ed.). New York: John Wiley & Sons.
Deaton, A. (2005). Franco Modigliani and the life-cycle theory of consumption. BNL quarterly review, 58, 91-107.
Hair, J., Black, W., Babin, B. Y. A., Anderson, R., & Tatham, R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7thEd.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Jill M, N., P. Bernard, S., & Sandy D, W. (2003). Factors Influencing Levels of Credit-Card Debt in College Students. Journal of Applied Social Psychology, 33(5), 935-947.
Meier, S., & Sprenger, C. (2010). Present-biased preferences and credit card borrowing. American Economic Journal: Applied Economics, 2(1), 193-210.
Meunier, L., & Ohadi, S. (2021). The impact of the COVID-19 crisis on individuals' risk and time preferences. Economics Bulletin, 41(3), 1050-1069.
Trivedi, A. J., & Mehta, A. (2019). Maslow’s hierarchy of needs-theory of human motivation. International Journal of Research in all Subjects in Multi Languages, 7(6), 38-41.
Yang Z. (2021). Factors Affecting Saving Behavior of Generation Z Employees. (Master of Business Administrations, Dhurakij Pundit University).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.