การศึกษาสภาพปัจจุบันของหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมของห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ศิริวัฒน์ ขันโมลี นิสิตหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
  • ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การออกแบบรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม, ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ, รายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมของห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลว่ามีสภาพปัจจุบัน ลักษณะ จุดเด่น หรือข้อจำกัดอย่างไร โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยโรงเรียนที่จัดโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษในกรุงเทพมหานคร จำนวน 54 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าโครงการ หรือครูผู้สอน จำนวน 47 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 389 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมฯ มุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางภาษาในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุม โดยเนื้อหาของรายวิชามีความยากเพิ่มขึ้นตามระดับการศึกษาและทันสมัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบูรณาการความรู้ร่วมกับวิชาอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง เช่น การทำงานกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติ และการโต้วาที อีกทั้งสื่อการเรียนการสอนมีความทันสมัยและหลากหลาย เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ในด้านการประเมินผล เน้นการสอบแบบปฏิบัติจริง เช่น การสอบพูดและการแสดงบทบาทสมมติ มากกว่าการทำแบบทดสอบ และมีการแจ้งเกณฑ์การประเมินล่วงหน้าเพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนการเรียนได้อย่างมีเป้าหมาย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ คือ ควรเพิ่มรายวิชาที่เน้นทักษะการสนทนาในชีวิตจริง การคิดเชิงวิเคราะห์ และการเขียนเชิงวิชาการ รวมถึงการปรับปรุงรายวิชาที่ซ้ำซ้อนให้ทันสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น ทั้งยังเสนอให้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกเรียนวิชาตามความสนใจและเพิ่มรายวิชาที่เชื่อมโยงกับสาขาวิชาชีพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กาญจนา เรืองอำพันธุ์. (2563). หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการตั้งเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสมาธิของนักเรียนประถมศึกษา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

จรัญญา พงษ์สุทธิรักษ์. (2552). สภาพและปัญหาการจัดการการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

ชาติชาย ม่วงปฐม. (2557). การพัฒนาหลักสูตร. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ฐิติพงศ์ เกตุอมร. (2561). การใช้กรอบอ้างอิงสมรรถนะด้านภาษาแห่งสหภาพยุโรปในระบบการศึกษาไทย. Hatyai Academic Journal, 16(1), 77-88.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, ลัดดา ศิลาน้อย, อังคณา ตุงคะสมิต, สิทธิพล อาจอินทร์ และ ศิริพงษ์ เพียศิริ. (2561). การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตชายแดนไทย ลาว กัมพูชา ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 395-413.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2564). การบริหารหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพยุโรปของนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(1). 118-133.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program/Mini English Program). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการติดตามและประเมินผลนโยบายการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อรองรับ Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

Cambridge ESOL. (2011). Using the CEFR: Principles of Good Practice. University of Cambridge. Retrieved 2 June 2024. from https://www.cambridgeenglish.org/Images/126011-using-cefr-principles-of-good-practice.pdf.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. John Wiley & Sons.

Council of Europe. (2020). Common European Framework of Reference for Languages : Learning, Teaching, Assessment – Companion Volume. Strasbourg: Council of Europe Publishing.

McTighe, J., & Wiggins, G. (2005). Understanding by Design. Virginia: Supervision and Curriculum Development (ASCD).

Mejang, A., & Suksawas, W. (2023). Guidelines for Developing Provision of Additional English Courses: A Case Study of Schools under the Secondary Educational Service Area Office, Nonthaburi. Journal of Education and Learning, 12(2), 156-169.

Montalto, S. A., Walter, L., Theodorou, M., & Chrysanthou, K. (2016). The CLIL Guidebook. Retrieved 2 June 2024. from https://www.languages.dk/archive/clil4u/book/CLILBookEn.pdf.

Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2018). Curriculum: Foundations, Principles, and Issues. London: Pearson Education Limited.

Pratt, D. (1980). Curriculum, Design, and Development. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

Sinlapachai, R., Surasin, J., & Augkanurakbun, R. (2016). The use of online standardized tests as indicators of English proficiency according to the common European Framework of Reference (CEFR) at the English program of Chonkanyanukoon School, Chon Buri, Thailand. HRD Journal, 7(1), 63-72.

Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt.

Zais, R. S. (1976). Curriculum: principles and foundations. New York: Crowell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ขันโมลี ศ., & ชุษณะโชติ ฤ. (2024). การศึกษาสภาพปัจจุบันของหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมของห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 595–608. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/279144