การประเมินโครงการส่งเสริมความปลอดภัยและวินัยจราจร โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
คำสำคัญ:
ความปลอดภัยในโรงเรียน, วินัยจราจร, ประเมินโครงการบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ประเมินระบบ (2) ประเมินการวางแผน (3) ประเมินผลการปฏิบัติงาน (4) ประเมินผลการปรับปรุงโครงการ และ (5) เพื่อประเมินผลการยอมรับ โครงการส่งเสริมความปลอดภัยและวินัยจราจร โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ครู และ นักเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยและวินัยจราจร โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CSE ของ อัลคิน และแบบการสนทนากลุ่ม สำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่า ด้านการประเมินเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2) ผลการประเมินการวางแผนโครงการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และพบว่า บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการจราจรในโรงเรียน และ นักเรียนมีความพร้อมกับการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด 3) ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ พบว่า การดำเนินงานโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินเพื่อการปรับปรุงโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในรูปแบบการดำเนินงานมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ตรงตามความต้องการของนักเรียน ครูมีความรู้ สามารถถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจได้อย่างง่าย เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ซักถามข้อสงสัย มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อาคาร สถานที่มีความเหมาะสม จุดเด่น คือ โครงการนี้มีประโยชน์ ทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ส่งผลให้นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข จุดด้อย คือ มีข้อจำกัดเรื่องเวลา 5) ผลการประเมินการยอมรับโครงการ โดยรวม มีค่าเฉลี่ย ผลการประเมินสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ/กิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 95 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2546. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.
ฑัณฑิกา สวัสดิ์ภักดี. (2560). การประเมินโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในการเดินทางสำหรับนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่องในจังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี และสงขลา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2), 151-160.
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม. (2566). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ประจำปีการศึกษา 2566. พัทลุง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง.
พลภัทร์ ศรีวาลัย, ทวิกา ตั้งประภา และ สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2561). การประเมินผลโครงการห้องเรียนพิเศษ (English Program) ของโรงเรียนสิริรัตนาธร โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CSE ของ อัลคิน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(1), 47-58.
พลอยรัฐ รัตนศรีปัญญะ. (2565). การประเมินผลโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช).
เพ็ญนภา คูวิบูลย์ศิลป์. (2565). การประเมินโครงการเด็กดีมีเงินออมโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช).
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา, ศิริชัย นามบุรี และ อัสมาอ์ โต๊ะยอ. (2561). การประเมินโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษโปรแกรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ Science and Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(2), 203-215.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุชีรา ใจหวัง และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2561). การจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15(28), 50-61.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2555). เทคนิคทางสถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
สุเวช พิมน้ำเย็น, งามนิตย์ ราชกิจ, พยงค์ ขุนสะอาด และ นันท์นภัส เพ็ชรสุวรรณ. (2560). การประเมินการจัดสภาพแวดล้อมและการจัดบริการด้านความปลอดภัยในโรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 25-31.
อดิศร ดีปานธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมใน สถานศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).
อภิชาติ ครองยศ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร).
Alkin, M. C. (1970). Evaluation theory development. Retrieved 2 June 2024. from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED057208.pdf#page=16.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Vicario, A. D. (2012). Safety management in Catalonia's schools. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 46, 3324-3328.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.