แนวปฏิบัติที่ดีของผู้บริหารเพื่อการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • อดิเรก เยาว์วงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประเทศไทย
  • กฤษฎา พลอยศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประเทศไทย
  • สรรเสริญ หุ่นแสน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประเทศไทย
  • อังคณา กุลนภาดล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติที่ดี, ผู้บริหารสถานศึกษา, การพัฒนาคุณธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาคุณธรรมคุณธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และ (2) แนวปฏิบัติที่ดีของผู้บริหารเพื่อการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการพัฒนาคุณธรรมคุณธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และข้อคำถามการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปฏิบัติการในสภาพปัจจุบันของการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากกมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านผู้สอน ด้านสถานศึกษา และด้านผู้เรียน 2) ผลการศึกษาเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีของผู้บริหารเพื่อการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 พบว่า มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานศึกษา ด้านผู้บริหาร ด้านผู้สอน และด้านผู้เรียน โดย (1) ด้านสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรจะต้องดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับการการพัฒนาครู และนักเรียนให้มีคุณธรรม (2) ด้านผู้บริหาร พบว่า เปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการร่วมกับผู้บริหารเพื่อจัดการฝึกอบรม หรือการพัฒนาครู และนักเรียน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในองค์กรต่อการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา (3) ด้านผู้สอน พบว่า ครูควรจะให้ความร่วมมือในการฝึกอบรม หรือการพัฒนาครูในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างครูให้เป็นผู้มีคุณธรรม (4) ด้านผู้เรียน พบว่า ควรให้ความมือและตั้งใจเรียนในทุกรายวิชาที่ครูมีการสอนแล้วเชื่อมโยงความรู้และคุณธรรมเข้าด้วยกัน นักเรียนควรนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนให้มีคุณธรรม

References

กิตติศักดิ์ จันทอง และ กฤษกนก ดวงชาทม. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 398-411.

จุฑามาส ศรีทองคํา. (2562). คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับผู้บริหารมืออาชีพ. ใน การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019” 15 พฤศจิกายน 2562 (น. 69-77). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ฉัฏฐ์สุดา ชัยโฉม, จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และ ชุลีพร นาหัวนิล. (2567). ระบบการบริหารราชการไทย. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 6(1), 241-247.

ฉัตรวี ลิ้มสกุล และ อัญชลี ชยานุวัชร. (2563). แนวทางการพัฒนาครูเพื่อเข้าสู่ความเป็นครูดี ระดับชั้นประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 132-144.

ณัฐคณิน แสงงาม และ พรเทพ รู้แผน. (2567). แนวทางการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณธรรมนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 7(2), 29-41.

ทิพกัญญา ไชยปัญหา, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ อภิสิทธิ์ สมศรีสุข. (2567). การประเมินความต้องการจําเป็นและในแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําครูในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(1), 13-27.

บุญลือ โกมลศรี, สุวิมล โพธิ์กลิ่น และ พงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2564). รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(7), 2993-3007.

พระปลัดชูวิทย์ อภิชโย, ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ และ พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร. (2567). ศึกษาผลสำเร็จการปลูกฝังคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนวิถีพุทธโรงเรียนหนองโสนวิทยา ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 7(3), 164-169.

พระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ. (2561). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 81-90.

พูนลาภ มากบุญ และ นัทนิชา โชติพิทยานนท์. (2566)0 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการสู่ระบบราชการ 4.0. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 6(1), 19-30.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (2566). รายงานผลการดําเนินงานประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. จันทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แนวทางในการประพฤติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row, Publishers.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

เยาว์วงค์ อ., พลอยศรี ก., หุ่นแสน ส., & กุลนภาดล อ. (2025). แนวปฏิบัติที่ดีของผู้บริหารเพื่อการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 199–208. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/279360