ความหลากหลายทางเพศต่อการสร้างครอบครัวระหว่างเพศเดียวในสังคมไทย
คำสำคัญ:
ความหลากหลายทางเพศ, การสร้างครอบครัวระหว่างเพศเดียวกัน, กฎหมายการสมรสระหว่างเพศเดียวกันบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางเพศต่อการสร้างครอบครัวระหว่างเพศเดียวกันในสังคมไทย ถึงความจำเป็นต่อการมีกฎหมายสมรสระหว่างเพศเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงต่อการใช้ชีวิตร่วมกันของคู่รักความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย จากกฎหมายการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน และวิเคราะห์ถึงปัญหา และข้อจำกัดของความหลากหลายทางเพศต่อการดำรงชีวิตร่วมกันของคู่รักความหลากหลายทางเพศต่อสังคมไทย ตลอดจนการมีกฎหมายการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน พบว่ากฎหมายการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวทางสังคม และมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายเรื่อยมา พบว่าพบว่าข้อจำกัดด้วยเหตุแห่งเพศ และการจำแนกเพศคือหลักการสำคัญในการจำกัดสิทธิ์จากการศึกษาสามารถสรุปได้ 3 ประการ 1) การจำแนกเรื่องเพศมีผลต่อสิทธิ์ในระบบกฎหมาย 2) การจำแนกเรื่องเพศสะท้อนให้เห็นถึงการผลิตซ้ำในระบบความเชื่อแบบสองเพศ หรือความรักต่างเพศระหว่างชายและหญิงเท่านั้นที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ 3) การจำแนกเพศมีผลต่อการได้รับสิทธิและสวัสดิการ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตคู่ระหว่างเพศเดียวกันเมื่อมีการแบ่งแยกกฎหมายการได้รับสิทธิต่าง ๆ ในฐานะเป็นคู่รักเพศเดียวกันจึงมีข้อกำจัดที่สำคัญหลายประการ การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นผลสะท้อนการต่อสู้ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจากความไม่เสมอภาคต่อกฎหมายการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทำให้เห็นถึงข้อจำกัด และเงื่อนไขที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตร่วมกันของคู่รักเพศเดียวกัน อย่างไรก็ตามการยอมรับในสังคมนั้นยังมีเรื่องของความเชื่อค่านิยมทางสังคม รวมถึงทัศนคติของปัจเจกบุคคลที่มีต่อคู่รักความหลากหลายทางเพศนั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายการสมรสระหว่างเพศเดียวกันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อ และทัศนคติเหล่านั้นได้
References
ณรงค์ศักดิ์ กล้าปราบโจร. (2562). เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ใน สังคมไทย. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ณัฎฐณิชา เหล็กกล้า. (2564). การเปลี่ยนแปลงวาทกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในแบบเรียนเพศวิถี ศึกษาจากความผิดปกติสู่การยอมรับภายใต้พหุวัฒนธรรมที่เป็นเพียงวาทกรรม. Journal of Language and Culture, 40(2), 79-95.
เทิดเกียรติภณช์ แสงมณีจีรนันเดชา. (2562). ความเสมอภาคของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อการสมรส และรับรองบุตรในประเทศไทย: ในมุมมองของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคม. Journal of Humanities and Social_Sciences, Rajapruk University, 5(2), 1-18.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). สถานภาพความรู้ในการศึกษาการเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวเกย์. สืบค้นจาก https://sac-research.sac.or.th/article-detail.php?articleID=58.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2563). แนวคิด เรื่อง “ความหลากหลายทางเพศ” ใน กระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์ และ สังคมศาสตร์: The Concept of Gender and Sexual Diversity in Sciences and Social Sciences Paradigms. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(3), 312-339.
ประภาสิริ สุริวงษ์ และ รณภูมิ สามัคคี คารมย์. (2565). ทัศนคติและความต้องการจำเป็นต่อร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ รังสิต. วารสารสหศาสตร์, 22(1), 106-122.
พีรภัทร ฉัตรพิบูลย์, ภูเวียง ห้าวเหิม และ วีระนุช แย้มยิ้ม. (2567). ความหลากหลายทางเพศในมิติประวัติศาสตร์ สังคมมนุษย์. วารสารมจรอุบลปริทรรศน์, 9(1), 1765-1780.
เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2564). การศึกษาทัศนคติของเยาวชนที่มีต่อการสมรสเพศเดียวกัน. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 10 (น. 261-273). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.
เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย. (2562). ความเสมอภาคทางเพศในทัศนะของมิเชล ฟูโกต์: เพศวิถี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(3), 179-188.
มิเชล ฟูโกต์. (2554). ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่ [The chapter “Les Corps dociles” from Surveiller et punir] (ทองกร โภคธรรม, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2556). บุคคลเพศหลากหลายในระบบกฎหมาย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ
สรวิศ ชัยนาม. (2562). ข้อถกเถียงทางการเมืองในประเด็นการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันในแคนนาดา. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สุชานุช พันธนียะ. (2562). “ครอบครัวคนข้ามเพศ” จากความผิดปกติและความเป็นอื่นสู่การมีตัวตนและพื้นที่ทางสังคม: บทวิเคราะห์ตามแนวคิดวาทกรรมของ มิเชล ฟูโกต์. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจ และการเมือง, 8(1), 24-44.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Foucault, M. (1980). Herculine Barbin: Being the recently discovered memoirs of a nineteenth-century French hermaphrodite. New York: Vintage.
Foucault, M. (1985). Life: Experience and Science. Journal of Metaphysics and Morality, 90(1), 3-14.
Gordon, C., & Foucault, M. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writings, 1972-1977. New York: Vintage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.