สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
สมรรถนะดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา (2) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (3) สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ (4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2567 จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงที่คล้อยตามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับดิจิทัลก่อนนำมาใช้ ต้องส่งเสริมครูและบุคลากรในการนำดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาระบบจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล และที่สำคัญคือต้องสร้างเจตคติเชิงบวก รวมทั้งส่งเสริม ให้บุคลากรในสถานศึกษาได้เข้ารับการอบรม เรียนรู้การใช้งาน และเห็นข้อดีของการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).
โรงเรียนตระพังพิทยาคม. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. สืบค้นจาก http://www.trapang.ac.th/datashow_235486.
วราวุฒิ มุขกระโทก และ กุลจิรา รักษนคร. (2566). สมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพันที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 6(17), 68-79.
สิริพร บุญทิพย์. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). กรอบสมรรถนะด้านดิจิทัล สำหรับพลเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2561). กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก https://www.onesqa.or.th/th/download/1183/.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.