สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

ผู้แต่ง

  • กิตติยา ดือราแม นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • รัฐพร กลิ่นมาลี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, คุณภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา (2) คุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา (3) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และ (4) แนวทางสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 307 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ส่วนคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) สมรรถนะการมุ่งสู่ความสำเร็จ และสมรรถนะในการบริหารตนเอง ร่วมกันทำนายคุณภาพผู้เรียน ได้ร้อยละ 48.00 อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ปรากฏผล 5 ด้าน (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาต้องยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมใช้ในการบริหารจัดการ (2) ด้านการทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (3) ด้านการบริหารจัดการ วางแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างรอบด้าน (4) ด้านการบริหารตนเอง ให้เกียรติและเคารพสิทธิตนเองและผู้อื่น (5) ด้านการมุ่งสู่ความสำเร็จ บริหารจัดการเชิงระบบ ช่วยให้การบริหารเป็นไปตามวัตถุประสงค์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ สำหรั ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research.

กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูน. (2561). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ภาคใต้. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี).

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พงษ์ศักดิ์ ศีริโอภา, พจนีย์ มั่งคั่ง และ อังคณา กุลนภาดล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 107-122.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พิมพ์ใจ ปั้นรอบรู้ และ อโนทัย ประสาน. (2564). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(2), 191-200.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2561). สี่เสาหลักของการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/สี่เสาหลักทางการศึกษา_1415863493.pdf.

ศิรินนาถ ทับทิมใส, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และ วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน. ใน การประชุมวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 8 วิทยาลัยนครราชสีมา (น. 28-39). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Creswell, J.W. (2015). A Concise Introduction to Mixed Methods Research. Thousand Oaks, CA: SAGE.

Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

ดือราแม ก., กลิ่นมาลี ร., & ชาตะกาญจน์ ว. (2025). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 7(1), 359–370. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/280588