ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรในศาลฎีกา
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, บรรยากาศองค์การ, ข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรในศาลฎีกาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรในศาลฎีกา (2) ศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรในศาลฎีกาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรในศาลฎีกา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในศาลฎีกา โดยใช้วิธีทำการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane’s และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและหาสัดส่วนได้จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรในศาลฎีกาอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ประเภทตำแหน่ง ส่วนงานที่สังกัด แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการศาลยุติธรรมและบุคลากรในศาลฎีกาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จักรพงษ์ ชมวะนา และ ณฐา เมธาบุษยาธร. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลจังหวัดสระบุรี. วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย. 1(3), 1-15.
พิทยุตม์ แสงประเสริฐ. (2563). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมที่ดิน ในหน่วยงานสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พีระ แก้วสะอาด. (2564). อิทธิพลของบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บมจ. ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
วราภรณ์ สุริยา. (2565). ความสุขในที่ทำงานและบรรยากาศองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการยาสูบแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ส่วนช่วยอำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา. (2567). ข้อมูลสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา. สืบค้นจาก http://www.supremecourt.or.th/.
อิสรีย์รัก ยศกรกุลวงค์. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสถาบันการบินพลเรือน. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
Allen, N. J., & Mayer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.
Litwin, G., & Stringer, R. (1968). Motivation and Organizational Climate. Massachusetts: Harvard University Press.
McGregor, D. (1960). The human side of enterprise. New York: McGraw-Hill.
Owen, R. G. (1991). Organizational behavior in education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Edition). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.