ผลการใช้เทคนิคทีมเกมทัวร์นาเมนต์ (Teams-Games Tournament: TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการคิดคำนวณ, เทคนิคทีมเกมทัวร์นาเมนต์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) เปรียบเทียบทักษะการคิดคำนวณก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการใช้เทคนิคทีมเกมทัวร์นาเมนต์ (Teams-Games Tournament: TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการใช้เทคนิคทีมเกมทัวร์นาเมนต์ (Teams-Games Tournament: TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคทีมเกมทัวร์นาเมนต์ (Teams-Games Tournament: TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) สื่อมัลติมีเดีย เรื่องการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดคำนวณ เรื่องการคูณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพของการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการคูณของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก (M = 4.65, S.D.= 0.50) 2) ทักษะการคิดคำนวณ เรื่องการคูณ โดยการใช้เทคนิคทีมเกมทัวร์นาเมนต์ (Teams-Games Tournament: TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการคูณ โดยการใช้เทคนิคทีมเกมทัวร์นาเมนต์ (Teams-Games Tournament: TGT) ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ภาวดี วงศ์ดี. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับโปรแกรม GSP. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ภิรพุทธิ์ สว่างสุข. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน (TGT) ร่วมกับการใช้ปัญหาปลายเปิดเรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
รุจิกาญจน์ ไชยสุนันท์, พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข และ เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2567). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง มุ่งมั่นและศรัทธาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดอนกระชาย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. บวรพัฒน์, 2(2), R1044.
โรงเรียนบ้านทุ่งค่าย. (2566). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566. ตรัง: โรงเรียนบ้านทุ่งค่าย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นจาก https://web.sesaokpp.go.th/news/18.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. สืบค้นจาก https://academic.obec.go.th/images/document/1580786328_d_1.pdf.
อัมพร ม้าคะนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J. W., & Kahn, J. V. (2016). Research in education. Tamil Nadu: Pearson Education India.
Vaughan, T. (2001). Multimedia: Making it Work. (6th ed.). New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.