ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการ ร้านโลตัส โก เฟรช มินิซูเปอร์มาร์เก็ต อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, มินิซูเปอร์มาเก็ต, พฤติกรรมผู้บริโภคบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการ ร้าน โลตัส โกเฟรช มินิซูเปอร์มาร์เก็ต ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และ (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานของการวิจัย ด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ใช้บริการให้ระดับความสำคัญปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวม อยู่ที่ระดับความสำคัญมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ สำหรับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการในภาพรวม อยู่ในระดับความสำคัญมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ พฤติกรรมภายหลังการซื้อ รองลงมา การประเมินผลทางเลือก การตระหนักถึงความต้องการ การตัดสินใจซื้อ และการค้นหาข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้บริการ ร้านโลตัส โกเฟรช มินิซูเปอร์มาร์เก็ต อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ด้านกระบวนการ และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในร้าน การออกแบบโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ และการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถช่วยเพิ่มความพึงพอใจและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยวต่าชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนกรกฎาคม 2567. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/759.
กัลยรักษ์ อรุณฤกษ์. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านฟู้ดแลนด์ ของลูกค้าในเขตบางกะปิ. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จริยา ถ้ำตรงกิจกุล. (2565). เทรนด์ร้านสะดวกซื้อปรับตัวรับไลฟ์สไตล์ใหม่. สืบค้นจาก https://www.cbre.co.th/th-th/press-releases/competition-on-convenience.
ณัฐพันธ์ มีมุข, ปัชฌา ตรีมงคล, ขวัญใจ หาวิถี, จตุพล แช่มเมือง และ พรพิศา เลาหภิชาติชัย. (2564). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ในการเลือกซื้อสินค้าในห้างเทสโก้โลตัสสาขาพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 155-164.
นัทธ์หทัย อัครธนเตชสิทธิ์, จรีย์ภัสร์ จุฑาธนัญญ์, วลัย ซ่อนกลิ่น และ สุนิสา หมาดง๊ะ. (2567). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมันของผู้บริโภค เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารราชนครินทร์, 21(1), 50-63.
นิมิต ซุ้นสั้น, สิรินทรา สังข์ทอง และ กชพร ชื่นจันทร์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคสำหรับอาหารสำเร็จรูป ในร้านสะดวกซื้อจังหวัดภูเก็ต. Journal of Administrative and Management Innovation, 8(3), 24-32.
บริษัท ซี.พี. แอ๊กตร้า จำกัด (มหาชน). (2566). รายงานประจำปี 2566. สืบค้นจาก https://www.cpaxtra.com/th/investor-relations/document/.
ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ปรานิกุล ขำหรุ่น. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมทานของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นในเขตจังหวัดแพร่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรี. (2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2567-2569: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th /research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/moderntrade/.
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มงานยุทศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด. (2567). ความเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก https://www.chiangmai.go.th/managing/public.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่สี่ ปี 2566. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=14745&filename =QGDP_report.
Bitner, M. J. (1992). Servicescapes: The Impact of Physical Surroundings on Customers and Employees. Journal of Marketing, 56(2), 57–71.
Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. (3 rd Ed.). New York: John Wiley & Son.
Cronbach, L. J. (1984). A research worker's treasure chest. Multivariate behavioral research, 19(2-3), 223-240.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). A framework for marketing management, global edition. New York: Pearson.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Marketing, 64(1), 12-40.
Schiffman, L. G., Kanuk, L. L. (1997). Consumer Behavior. (6th Ed.). New Jersey: Prentice Hall.
United Nations. (2022). UN projects world population to reach 8.5 billion by 2030, driven by growth in developing countries. Retrieved from https://www.un.org/sustainabledevelopment/blog/2015/07/un-projects-world-population-to-reach-8-5-billion-by-2030-driven-by-growth-in-developing-countries/.
Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality, and value: A means-end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.