การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการโปรแกรมการศึกษาแบบดั้งเดิม (TSP) ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, โปรแกรม TSP, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม, อำเภอรือเสาะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการโปรแกรม TSP ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของโปรแกรม TSP 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรม TSP ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาซึ่งมีประชากรทั้งหมดจำนวน 400 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนศาสนาระดับตอนปลาย 50 คนและผู้เรียนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาสที่กำลังเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 350 ส่วนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 36 คนประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 5 คน ครูผู้สอนศาสนาระดับตอนปลาย 8 คน และผู้เรียนของโรงเรียนต้นตันหยง อำเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาสที่กำลังเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของโปรแกรม TSP 2) แบบประเมินคุณภาพของโปรแกรม TSP และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรม TSP สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นต่อการใช้โปรแกรม TSP ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (
=4.52) 2) คุณภาพของโปรแกรม TSP ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (
=4.88) และ 3) ความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรม TSP ที่ใช้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (
=4.44)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ธีระพงษ์ ดำรงค์ไชย. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยบูรพา. ฉบับถ่ายสำเนา.
ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2550). หลักการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตร. สาขาหลักสูตรและการสอน. ลพบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). ระเบียบวิธีทางการศึกษา. ครั้งที่ 4. ปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย (Research methodology). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
วัน เดชพิชัย. (2535). คู่มือการวิจัยและการประเมินผลโครงการทางการศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สุนิสสัย มาต้น. (2552). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในระดับช่วงชั้นที่ 3 เรื่อง การทำปลาส้มสมุนไพรของโรงเรียนด่านแม่คำมันพิทยาคม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อับดุลรอแม สุหลง. (2561). ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการใช้หลักสูตรแบบบูรณาการในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: คณะครุศาสตร์ หาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อาหมีน ดาราพงศ์. (2562). กระบวนการตัรฺบียะฮฺ อิสลามียะฮฺและการนำมาใช้ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารอัล-นูร. มหาวิทยาลัยฟาฏอนีย์. 14(26): 147-158.
เอกสารอ้างอิงฉบับภาษาต่างประเทศ
Khairul Akmar, et. all. (2021). Kelestarian Bahasa Arab di Pondok-Pondok Sebagai Pemangkin Tradisi Ilmu (Satu Tinjauan Awal Literatur). E-Journal Bahasa dan Linguistik. 3(2): 46-57.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มนารอ : วารสารประเด็นอิสลามร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.