วิเคราะห์บทประพันธ์เพลง “ถวายชัยคีตมหาราชา” ของณัฐ ยนตรรักษ์
คำสำคัญ:
ถวายชัยคีตมหาราชา, ณัฐ ยนตรรักษ์, เพลงพระราชนิพนธ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์บทประพันธ์เพลง ถวายชัยคีตมหาราชา ของณัฐ ยนตรรักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างบทประพันธ์ วิเคราะห์แนวคิดและวิธีนำแนวทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ไปใช้ในการประพันธ์ รวมถึงวิธีการพัฒนาทำนอง ดนตรีบรรยายภาพ และสำเนียงเปียโนดนตรีไทยจากผลการศึกษาพบว่าบทประพันธ์เพลง ถวายชัยคีตมหาราชา กระบวนเพ็ญพิรุณ มีสังคีตลักษณ์โซนาตาแบบดนตรีคลาสสิกที่แตกต่างจากแบบดั้งเดิม วัตถุดิบหลักของบทประพันธ์นี้ คือ ทำนองหลักที่นำมาจากทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ไทย 3 เพลง ได้แก่
บุหลันลอยเลื่อน (รัชกาลที่ 2) สายฝน และมหาจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 9) โดยทำนองหลักส่วนใหญ่พบว่ามีลักษณะการนำเสนออย่างตรงไปตรงมาตามเพลงต้นฉบับ ด้านการพัฒนาทำนองมักจะใช้การทดเสียงคู่ 8 และเพิ่มเสียงประสานให้หนาแน่นขึ้น นอกจากนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ ดนตรีบรรยายภาพที่สร้างบรรยากาศของฝนตกในทำนองเพลงสายฝน และสำเนียงการบรรเลงเปียโนที่เลียนเสียงระนาด