ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

การส่งบทความ

    1. บทความวิจัยที่มีการดำเนินงานหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ผู้นิพนธ์ต้องกรอกแบบฟอร์ม “แบบเสนอส่งบทความเพื่อพิจารณา
ตีพิมพ์ลงในวารสาร (JMPA-001 หรือ JMPA-002)” โดยกรอกข้อมูลและพิมพ์แบบฟอร์มจากไฟล์เอกสารทรอนิกส์เท่านั้น 
   2. กรณีที่เป็นบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา (วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์)  ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (JMPA-003) เป็นลายลักษณ์อักษรในการนำผลงานเสนอตีพิมพ์ อีกทั้งมีชื่อลำดับถัดจากผู้นิพนธ์
   3. กรณีที่เป็นบทความที่มีผู้นิพนธ์มากกว่า 1 คน จะต้องมีหนังสือจากผู้นิพนธ์ร่วมทุกคนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้ระบุชื่อ – นามสกุลในลำดับถัดจากผู้นิพนธ์หลักทุกรายการ (ที่อยู่และสังกัดของผู้นิพนธ์ร่วมให้อยู่ในรูปของเชิงอรรถใต้บทคัดย่อเช่นเดียวกับผู้นิพนธ์หลัก)
   4. ในกรณีที่มีไฟล์เอกสารแนบกับบทความผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมภาพประกอบ เป็นไฟล์รูปภาพ นามสกุล JPEG หรือ PNG ความละเอียด 300-350 dpi และต้องระบุชื่อไฟล์ภาพให้ชัดเจน และเรียงไฟล์ภาพตามลำดับในเนื้อหาบทความ 
   5. ทำการลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกวารสารดนตรีและการแสดง พร้อมส่งบทความต้นฉบับ แล
ะเอกสารประกอบการส่งบทความ

ผ่านระบบ Online Submission โดยเลือกใช้ช่องทางเว็บไซต์วารสารในเครือข่าย Thai Journal Online (TCI) : https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal

หลักเกณฑ์การเตรียมบทความต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารดนตรีและการแสดง

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

   1. ผู้เขียนต้องระบุประเภทของบทความว่าเป็นบทความประเภทใด เช่น บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือหรือผลงานด้านดนตรีและการแสดง ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น โดยส่งถึง
กองบรรณาธิการผ่านระบบ ThaiJo ประกอบด้วยต้นฉบับของบทความในรูปแบบ MS Word และ PDF (ต้องส่งทั้ง 2 แบบ)
   2. บทความต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ (ภาษาใดภาษาหนึ่ง) ความยาวของบทความทั้งหมดต้องไม่เกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 โดยให้ตั้งค่าหน้ากระดาษ ด้านบน 3.75 ซม. ด้านล่าง 2.54 ซม. ด้านซ้าย 3.75 ซม. และด้านขวา 2.54 ซม. ใช้แบบอักษรมาตรฐาน TH Sarabun PSK ตลอดทั้งบทความ และมีส่วนประกอบของบทความที่สำคัญตามลำดับ ดังนี้
       2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 pt ตัวพิมพ์ใหญ่ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยหลีกเลี่ยงการใช้อักษรย่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง
       2.2 ชื่อผู้นิพนธ์ (Author) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรปกติ ขนาด 14 pt  จัดต่อจากชื่อเรื่องชิดขวา ระบุข้อมูลเฉพาะชื่อ-นามสกุล โดยภาษาไทยบรรทัดที่ 1 และภาษาอังกฤษบรรทัดที่ 2 ของผู้นิพนธ์เท่านั้น (ไม่ต้องใส่คำนำหน้าและตำแหน่งทางวิชาการ) หากมีผู้นิพนธ์ร่วมจะต้องระบุให้ครบถ้วนถัดจากชื่อผู้เขียนหลักทุกรายการ
       2.3 บทคัดย่อ (Abs
tract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรปกติขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบกระจายบรรทัด (Thai Distributed) ประกอบด้วย ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการหรือระเบียบวิธีวิจัยและผลการศึกษา จำนวนไม่เกิน 250 คำ สำหรับบทความภาษาอังกฤษไม่ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย
       2.4 คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรปกติ ขนาด 16 pt ไม่เกิน 3 คำ ใต้บทคัดย่อ
       2.5 ตำแหน่งทางวิชาการ ต้นสังกัด และที่อยู่ของผู้นิพนธ์ (Affiliation) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรปกติ ขนาด 14 pt
ในรูปแบบของเชิงอรรถใต้บทคัดย่อ กำกับด้วยเลข  โดยระบุการศึกษาขั้นสูงสุดหรือตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) และสังกัดของผู้นิพนธ์ พร้อมทั้งระบุจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email address) และหากมีผู้นิพนธ์ร่วม จะต้องระบุที่อยู่ สังกัด และอีเมลให้ครบถ้วนถัดจากชื่อผู้นิพนธ์หลัก
       2.6 เนื้อหา (Content) ใช้อักษรปกติ ขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบกระจายบรรทัด(Thai Distributed) หากเป็นบทความวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ควรมีเนื้อหาที่ครอบคลุมในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตการศึกษาและ/

หรือข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) วิธีการดำเนินงานวิจัย ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล ระบุชื่อของแหล่งทุนในกิตติกรรมประกาศ
       2.7 รายการอ้างอิง (References) ใช้อักษรปกติ ขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบชิดซ้ายโดยบรรทัดต่อมาของรายการเดียวกันจะต้องย่อหน้าเข้า 1.25 cm (1 Tab) รายการอ้างอิงภายในเนื้อหาตรงกับรายการอ้างอิงท้ายบทความครบถ้วนทุกรายการ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (อ่านรายละเอียดรายการอ้างอิงเพิ่มเติม)
   3. ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมภาพประกอบ โดยจัดทำภาพประกอบเป็นไฟล์รูปภาพ นามสกุล JPEG หรือ TIFF ความละเอียด 300-350 dpi และต้องระบุชื่อไฟล์ภาพให้ชัดเจน และเรียงไฟล์ภาพตามลำดับในเนื้อหาบทความ (แนบมาพร้อมบทความ)
   4. กรณีโน้ตเพลง ไม่ควรใช้การถ่ายเอกสารแบบตัดปะ ใช้พิมพ์ใหม่โดยใช้โปรแกรมสำหรับพิมพ์โน้ต เช่น โปรแกรม Sibelius หรือโปรแกรม Finale เป็นต้น
   5. ในกรณีที่เป็นบทความวิจัยที่มีการดำเนินงานหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป ต้องแนบเอกสาร รับรองการผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนจากสถาบันที่มีการดำเนินการมาด้วย
   6. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตอบรับการตีพิมพ์ ความรับผิดชอบใด ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้นิพนธ์เท่านั้น กองบรรณาธิการไม่ต้องรับผิดชอบ
   7. บทความที่นำลงตีพิมพ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณา โดยผลการพิจารณาดังกล่าวถือเป็นที่สุด
   8. วารสารดนตรีและการแสดงมีสิทธิ์ในการตีพิมพ์และพิมพ์ซ้ำ แต่ลิขสิทธิ์ของบทความยังคงเป็นของผู้นิพนธ์

วารสารดนตรีและการแสดง คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา กำหนดรูปแบบการอ้างอิงโดยใช้การอ้างอิงตาม
รูปแบบการอ้างอิงสารสนเทศตามแบบ APA (7th edition)

โดยผู้นิพนธ์สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก การอ้างอิงสารสนเทศ “Publication Manual of the American Psychological Association” (7th Edition) 

เกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความ (Peer Review)

 1. กองบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาคุณภาพวารสารขั้นต้นจากแบบตรวจสอบรายการเอกสารประกอบการเสนอส่งบทความต้นฉบับ
ที่ผู้นิพนธ์ได้แนบมาพร้อมหลักฐานต่าง ๆ 
   2. บทความต้นฉบับที่ผ่านการตรวจสอบปรับแก้ให้ตรงตามรูปแบบวารสาร มีความสมบูรณ์และความเหมาะสมของเนื้อหาจะได้รับการอ่านพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญตรงหรือเกี่ยวเนื่องกับสาขาของบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ ผู้ประเมินจะไม่ทราบว่ากำลังพิจารณาบทความของผู้นิพนธ์คนใด พร้อมกันนั้นผู้นิพนธ์บทความจะไม่สามารถทราบว่าใครเป็นผู้พิจารณา (Double Blind Review) โดยผลการพิจารณาดังกล่าวถือเป็นที่สุด
   3. บทความที่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีความเห็นสมควรให้ตีพิมพ์จะได้รับการบันทึกสถานะและเก็บรวบรวบต้นฉบับ
ที่สมบูรณ์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ กองบรรณาธิการจะแจ้งผู้นิพนธ์รับทราบเป็นหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ซึ่งจะระบุปีที่และฉบับที่ตีพิมพ์
   4. กรณีที่ผู้นิพนธ์มีความประสงค์ต้องการยกเลิกการตีพิมพ์ ต้องแจ้งความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรเรียนถึง “บรรณาธิการวารสารดนตรีและการแสดง คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา” เท่านั้น
   5. บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณา กองบรรณาธิการจะเรียนแจ้งผู้นิพนธ์รับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่ส่งคืนต้นฉบับและ
ค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ผลการพิจารณาถือเป็นอันสิ้นสุด ผู้นิพนธ์จะไม่มีสิทธิ์เรียกร้องหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
   อนึ่ง กรณีที่ผู้นิพนธ์ถูกปฏิเสธการพิจารณาบทความ เนื่องจากตรวจพบการคัดลอกบทความ  (Plagiarism) โดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาจะไม่สามารถเสนอบทความเดิมได้อีก และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์การส่งบทความของผู้นิพนธ์ในฉบับถัดไป จนกว่าจะมีการปรับปรุงคุณภาพบทความตามเกณฑ์ที่กำหนด

จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics)

   วารสารดนตรีและการแสดง ยึดถือและปฏิบัติในหลักการของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ COPE (Committee On Publication Ethics) อย่างเคร่งครัด โดยวารสารมีแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมดังนี้

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)

   บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีประเด็นที่น่าสน เป็นประโยชน์ทางแวดวงวิชาการ ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร โดยพิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ประเมิน ผู้นิพนธ์ให้กับผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างกองบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมิน ทั้งนี้ ในการพิจารณาประเมินบทความ บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปกปิดชื่อ สังกัด และรายละเอียดอื่น ๆ ของผู้นิพนธ์ไม่ให้ผู้ประเมินทราบ

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewers)

   ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ หรือ ผู้ประเมินบทความต้องมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสำคัญของบทความ รวมถึงพิจารณาถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ จริยธรรม และการคัดลอกผลงานทางวิชาการ โดยต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์หรือบทความให้แก่บุคคล
ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ เมื่อผู้ประเมินทราบว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ ผู้ประเมินควรแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)

   ผู้นิพนธ์ต้องจัดทำต้นฉบับบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ โดยต้องไม่ส่งบทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว และไม่ส่งต้นฉบับซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น ต้นฉบับบทความที่เสนอจะต้องไม่มีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จ การละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดจริยธรรม และการคัดลอกผลงานทางวิชาการ หากมีการพาดพิงผลงานของผู้อื่นจะต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องเหมาะสมในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความด้วย หากมีการสนับสนุนเงินทุนการทำวิจัย ผู้นิพนธ์จะต้องระบุแหล่งชื่อทุน

จริยธรรมวิจัยในการทำวิจัย (Research Ethics)

   ผู้นิพนธ์ที่เสนอต้นฉบับบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยหรือการดำเนินการใด ๆ กับมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง จะต้องได้รับการรับรองแล้ว โดยผู้นิพนธ์ต้องระบุเลขที่ใบรับรองและส่วนงานที่ออกใบรับรองนั้นลงใบบทความด้วย

ลิขสิทธิ์และกรรมสิทธิ์ของบทความ
    1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตอบรับการตีพิมพ์ ความรับผิดชอบใด ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้นิพนธ์เท่านั้น กองบรรณาธิการไม่ต้องรับผิดชอบ
   2. วารสารดนตรีและการแสดงมีสิทธิ์ในการตีพิมพ์และพิมพ์ซ้ำ แต่ลิขสิทธิ์ของบทความยังคงเป็
นของผู้นิพนธ์