ปี่ไฉน : สังคีตลักษณ์และบทเพลง

ผู้แต่ง

  • ภัทระ คมขำ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปี่ไฉน, สังคีตลักษณ์, บทเพลง

บทคัดย่อ

ปี่ไฉน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในพระราชพิธีมาตั้งแต่อดีต บรรเลงคู่กับกลองชนะเสมอ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกที่ว่า ปี่ไฉนกลองชนะ ลักษณะทางกายภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนมีรูสำหรับเสียบลิ้นปี่ด้านบนเจาะร๔บังคับเสียง 7 รู และ 1 รูนิ้วค้ำ อีกส่วนมีลักษณะบานออกเป็นลำโพง
เมื่อสวมประกอบเข้าด้วยกันมีความยาวประมาณ 23 เซนติเมตร ทำมาจากแก่นไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง ลิ้นปี่ไฉนทำจากใบตาลสวมเข้ากับกำพวดผูกด้วยเชือกควั่นใช้กำบังลมแบบปี่ชวาแต่ขนาดเล็กลงมา ปี่ไฉนมรเสียงสูงจ้าดังกังวานสำหรับใช้ในที่กว้างและบรรเลงคู่กับกลองชนะจำนวนมาก
ระดับเสียงของปี่ไฉนเป็นอิสระไม่เทียบเข้ากับเครื่องดนตรีไทยชนิดใดไม่พบการรวมวงในวงดนตรีไทย การสืบทอดความรู้ของเป่าปี่ไฉนพบในงานเครื่องสูงและกลองชนะ ปัจจุบันถูกแบ่งการเป่าเป็นสองสำเนียงได้แก่ ครูทอง เย็นเกล้า และครูสมบัติ บทเพลงสำหรับปี่ไฉนเรียกว่า
เพลงร้อยดอก หรือเพลงโศกลอยลม มีท่วงทำนองสั้นๆ ใช้การเป่าเสียงยาวประกอบกับกลวิธีพิเศษ มีการกลับต้นตามระเบียบวิธีการบรรเลงดนตรีไทย วรรคส่งเพื่อลงจบได้อย่างชัดเจนในช่วงท้ายเพื่อกลับต้นหรือส่งให้ผู้เป่าปี่อีกคนที่เป่าคู่กันรับช่วงเป่าได้สะดวกยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2015