ล้วน ควันธรรม : การกำเนิดเพลงลีลาศรูปแบบไทย

ผู้แต่ง

  • กมลธรรม เกื้อบุตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

บทคัดย่อ

ดนตรีสำหรับการลีลาศแบบตะวันตกได้แพร่กระจายเข้าสู่สังคมไทยในช่วงรัชกาลที่ 5 และเป็นที่นิยมมากในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคที่ดนตรีและนาฏศิลป์เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก แต่จุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลให้ดนตรีลีลาศเป็นที่รู้จักมากขึ้น คือ นโยบายรัฐนิยมของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยสนับสนุนให้คนไทยได้เรียนรู้วัฒนธรรมบันเทิงแบบชาวตะวันตก ส่งผลให้มีวงดนตรีและผลงานของนักประพันธ์ชาวไทยเป็นจำนวนมาก  
ครูล้วน ควันธรรม ได้เริ่มประพันธ์เพลงเต้นรำจังหวะตะลุงขึ้นในปี พ.ศ.2504 โดยการเลียนแบบจังหวะในเพลงหนังตะลุงของภาคใต้ ได้ร่วมมือกับสมาคมลีลาศในการสร้างสเต็ปตะลุงเพื่อใช้แข่งขัน เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้น นักประพันธ์คนอื่น ๆ จึงได้แต่งเพลงตะลุงอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะบทเพลงที่ขับร้องโดยเลิศ ประสมทรัพย์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บทเพลงตะลุงเพลงแรกคือ เพลงตะลุงเท็มโป้ โดยครูล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากกระสวนจังหวะของเพลงตะลุง ผสมผสานกับทำนองเพลงไทยบางส่วนคือ เพลงศรีธรรมราชเถา สร้างขึ้นเป็นเพลงเต้นรำที่มีเอกลักษณ์สำคัญที่สะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทยได้อย่างชัดเจน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2015