สุทรียะในการชมโขน สำหรับผู้ชมร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธุ์ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การดูโขน, ภาษาโขน, สุนทรียะในการรับชม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการแนะนำวิธีการชมการแสดงโขนสำหรับผู้ชมร่วมสมัย   ที่จะชมโขนอย่างไรให้สนุก ให้รู้เรื่อง การแสดงโขนมีภาษามากมายที่ทำงานร่วมกันในการเล่าเรื่อง โขนเล่าเรื่องผ่านภาษาที่ประกอบไปด้วย ภาษาทางด้านวรรณศิลป์ที่เป็นบทพระราชนิพนธ์
ภาษาที่มาจากคำพูดของคนพากย์ ภาษาที่มาจากบทเพลง และภาษาที่มาจากท่ารำ โขนเป็นการแสดงที่นำเรื่องราวจากรามเกียรติ์ โดยประเด็นหลักของรามเกียรติ์คือ ความดีย่อมชนะความเลว เรื่องราวกำหนดเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายยักษ์กับมนุษย์ ทศกัณฑ์และพระราม
โดยมูลเหตุใหญ่ของการขัดแย้งในเรื่องเกิดจากการแย่งชิงนางสีดาไปจากพระราม สถานการณ์การเเสดงโขนทุกวันนี้พบว่า บทการ เเสดงที่ถูกตัดทอนเพื่อตอบสนองคนดูที่ต้องการชมการเเสดงที่รวดเร็ว ทันใจ เพื่อตอบกระเเสสังคมสำเร็จรูปที่ชีวิตที่เกิดมาแล้วเจอทุกอย่างที่พร้อมใช้
อันเป็นวิถีชีวิตที่กลายเป็นความเคยชินของคนสมัยใหม่ปัจจุบัน ซึ่งผลต่อวิธีคิดและการใช้ชีวิต อาจส่งผลให้คนสมัยปัจจุบันไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของโขน เรายกย่องว่าโขนคือศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ คือสิ่งที่ดีงาม คือเกียรติของพระราม แต่เรากลับตัดทอนหรือนำเอาเเสง สี เสียง
เลเชอร์ มาประกอบการแสดงโขน สร้างภาพให้ผู้ชมเห็นความ ใหญ่อลังการตระการตา  สิ่งเหล่านี้กลายเป็นหัวใจหลักของการเเก้ไขหรือแก้ปัญหาที่จะทำให้ผู้ชมดูโขนรู้เรื่อง ทว่าทำลายจินตนาการขอผู้ชม     หรือเราจะบูรณาการเพิ่มทักษะด้านการให้ความรู้พัฒนาศักยภาพทางสติปัญญา
เพื่อกล่อมเกลาอารมณ์และจิตใจให้ประชาชนคนไทยได้เข้าใจศิลปะการแสดงโขนที่เป็นสมบัติอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมของชาติไว้ให้คงอยู่ได้ในสังคมปัจจุบันสืบต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2015