ช่างสร้างเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เครื่องดนตรีไทย, จังหวัดชลบุรี

บทคัดย่อ

บทความนี้ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจข้อมูลช่างสร้างเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดชลบุรีโดยการสอบถามจากนักดนตรีไทยในท้องถิ่น พบช่างสร้างเครื่องดนตรีไทยในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา อำเภอพานทอง และอำเภอพนัสนิคม ทั้งหมดจำนวน 7 ท่าน ได้แก่ นายสว่าง รักษาทรัพย์ นายสมควร บุญรอด นายสุรชัย เรืองเดช นายอวรรัช ชลวาสิน  นายพนม พนมมรรค นายภานุพงษ์ เทียนทอง และนายจิตรภานุ นันทิประภา โดยพบการสร้างเครื่องดนตรีไทย คือ ผืนระนาดเอก ไม้ตีระนาดเอก (ไม้แข็ง) ไม้ตีระนาดทุ้ม ไม้ตีฆ้องวงใหญ่ (ไม้หนัง) การปิดทองประดับกระจกเครื่องดนตรี การขึ้นหนังหน้ากลอง กลองยาวสเตนเลสซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย และจะเข้ โดยช่างมีอายุตั้งแต่ ๒๒ ปี ถึง ๖๑ ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอื่นเป็นหลัก ได้แก่ นักดนตรี นักแสดงลิเก ประกอบกิจการ การสร้างเครื่องดนตรีเป็นงานอดิเรกจึงทำให้ไม่สามารถสร้างเครื่องดนตรีได้จำนวนมาก รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างเครื่องดนตรีไทยบางชนิดหาได้ยากในปัจจุบัน ช่างในจังหวัดชลบุรีนั้นเป็นช่างเรียนรู้และพัฒนาเครื่องดนตรีด้วยประสบการณ์ด้วยตนเอง และที่ได้รับการสืบทอดองค์ความรู้จากช่างสร้างเครื่องดนตรี หรือครูดนตรีที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นการสร้างลักษณะเฉพาะที่หลากหลายให้กับเครื่องดนตรีในจังหวัดชลบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2016